Page 192 - บทคัดย่อการทดลองสิ้นสุด 60
P. 192
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตงา
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตงา
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาวิธีการปลูกและอัตราปุ๋ยต่อการปลูกงาในสภาพนาชลประทาน
Study on Planting Method and Fertilizer Rate on Sesame
Production in Irrigated Area
1/
1/
4. คณะผู้ด าเนินงาน อรอนงค์ วรรณวงษ์ ลักขณา ร่มเย็น
1/
1/
ประภาพร แพงดา บุญเหลือ ศรีมุงคุณ
ศิริรัตน์ กริชจนรัช สมหมาย วังทอง
1/
1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาวิธีการปลูกและอัตราปุ๋ยต่อการปลูกงาในสภาพนาชลประทาน ด าเนินการในนา
เกษตรกร ต าบลค าเจริญ อ าเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2559 ถึง ปี 2560 วางแผนการ
ทดลอง 2 x 3 factorial in RCB 4 ซ า 6 กรรมวิธี ปัจจัยที่ 1 คือ วิธีการปลูก 2 วิธี ได้แก่ แบบหว่าน
และแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจัยที่ 2
คือ การใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 3 อัตรา ได้แก่ 0 25 และ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1
ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เมษายน ผลการทดลองพบว่า ปี 2559 ไม่พบปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างวิธีปลูกกับ
การใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตราต่างๆ ที่มีต่อการให้ผลผลิตงา แต่วิธีปลูกงาแบบโรยเป็นแถวให้ผลผลิต
องค์ประกอบผลผลิต จ านวนต้นเก็บเกี่ยวต่อไร่ และน าหนัก 1,000 เมล็ด สูงกว่าการปลูกแบบหว่าน
จากการทดลองพบว่า การปลูกโดยวิธีโรยเป็นแถวมีแนวโน้มให้ผลผลิตงามากกว่าวิธีหว่านในทุกระดับของการ
ใส่ปุ๋ย งาให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 53-76 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2560 ไม่พบปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างวิธีปลูกกับการ
ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตราต่างๆ เช่นเดียวกับปี 2559 วิธีการปลูกและอัตราปุ๋ย 16-16-8 อัตราต่างๆ
ต่อการปลูกงาในสภาพนาชลประทานให้ผลผลิตงาไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลผลิตอยู่ระหว่าง 72-103
กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองทั ง 2 ปี พบว่า การปลูกงาโดยวิธีโรยเป็นแถวมีแนวโน้มให้ผลผลิตมากกว่า
วิธีหว่าน การให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทั ง 2 ปี พบว่า การปลูกงาแบบโรยเป็นแถว ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 1
กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ งาให้ผลผลิตและผลตอบแทนที่ดีคุ้มค่า
การลงทุน
6. การน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
งาเป็นพืชน ามันอายุสั น อายุ 85 ถึง 90 วัน ผลผลิตยังไม่เพียงพอและตลาดยังมีความต้องการสูง
สามารถปลูกในสภาพนาชลประทาน และใช้น าน้อยกว่าการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อแนะน าเป็นพืชทางเลือก
เป็นพืชเสริมรายได้ให้เกษตรกรอีกพืชหนึ่ง
______________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี
174