Page 200 - บทคัดย่อการทดลองสิ้นสุด 60
P. 200
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ฝ้ายเพื่อเพิ่มมูลค่า
2. โครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ฝ้ายเพื่อเพิ่มมูลค่า
3. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร: พันธุ์ฝ้ายเส้นใยยาวพิเศษ (เก็บเกี่ยว)
Farm Trial : Extra-long Fiber Cotton
1/
4. คณะผู้ด าเนินงาน ปริญญา สีบุญเรือง เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง 2/
3/
สมใจ โควสุรัตน์ ปรีชา แสงโสดา 4/
5/
นิมิตร วงศ์สุวรรณ พิกุล ซุนพุ่ม 6/
5. บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรพันธุ์พันธุ์ฝ้ายเส้นใยยาวพิเศษ ด าเนินการที่ จังหวัดนครสวรรค์
เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี เลย กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร ในปี 2559 ประกอบด้วยฝ้ายสายพันธุ์ดีเด่น 44/3C7-
2B(W)3 44/3D1 0 -2E(W)3 44/3E9-3C(W)3 44/3E9-3D(W)6 และพันธุ์ตรวจสอบ TF8 4 -4
รวม 5 สายพันธุ์/พันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จ านวน 4 ซ า ใช้ระยะปลูก 1.50 x 0.50 เมตร
แถวยาว 12 เมตร ขนาดแปลงย่อย 6 x 12 เมตร เพื่อคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์ฝ้ายที่ให้ผลผลิตสูง
คุณภาพเส้นใยดี และมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ดี ตลอดจนประเมินการยอมรับของเกษตรกร
ผลการทดลองจาก 3 สถานที่ (ยกเว้นจังหวัดอุบลราชธานี เลย และมุกดาหาร เนื่องจากมีค่าสัมประสิทธิ์
ของความแปรปรวนของการทดลองมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์) พบว่า พบว่าลักษณะผลผลิตมีความแตกต่าง
ทางพันธุกรรมในแต่ละสภาพแวดล้อม ระหว่างสภาพแวดล้อม ตลอดจนมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรม
กับสภาพแวดล้อม โดยแปลงทดลองที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้ผลผลิตเฉลี่ยของทุกพันธุ์สูงที่สุด 140 กิโลกรัม
ต่อไร่ รองลงมาคือ นครสวรรค์ (105 กิโลกรัมต่อไร่) และ กาฬสินธุ์ (81 กิโลกรัมต่อไร่) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์
ของความแปรปรวนของการทดลองอยู่ระหว่าง 16 ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาผลผลิตเฉลี่ยจากทั ง
3 สถานที่ทดลอง พบว่า พันธุ์ตรวจสอบ TF84-4 ให้ผลผลิตสูงสุด 173 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ
44/3C7-2B(W)3 (114 กิโลกรัมต่อไร่) ที่ให้ผลผลิตสูงกว่า 44/3D10-2E(W)3 (91 กิโลกรัมต่อไร่) 44/3E9-
3C(W)3 (84 กิโลกรัมต่อไร่) และ 44/3E9-3D(W)6 (82 กิโลกรัมต่อไร่) ส าหรับเปอร์เซ็นต์หีบและคุณภาพ
เส้นใย พบว่า สายพันธุ์ดีเด่นทั ง 4 สายพันธุ์ มีค่าเปอร์เซ็นต์หีบระหว่าง 34.9 ถึง 35.6 เปอร์เซ็นต์ ความยาว
เส้นใย จัดอยู่ในกลุ่มฝ้ายเส้นใยยาวพิเศษ คือระหว่าง 1.31 ถึง 1.34 นิ ว ความเหนียวเส้นใยระหว่าง
21.3 ถึง 22.5 กรัมต่อเท็กซ์ ความสม่ าเสมอเส้นใย 57 ถึง 58 เปอร์เซ็นต์และความละเอียดอ่อน เส้นใยระหว่าง
3.0 ถึง 3.5 ในขณะที่พันธุ์ตรวจสอบ TF84-4 มีค่าเปอร์เซ็นต์หีบ 35.4 เปอร์เซ็นต์ ความยาวเส้นใย 1.26 นิ ว
ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฝ้ายเส้นใยยาว ความเหนียวเส้นใย 22.4 กรัมต่อเท็กซ์ ความสม่ าเสมอเส้นใย 61เปอร์เซ็นต์
และความละเอียดอ่อนเส้นใย 3.9 ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลของสายพันธุ์ดีเด่น 44/3C7-2B(W)3
เพื่อน าไปประกอบการเสนอเป็นฝ้ายพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตรต่อไป
6. การน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
สามารถรวบรวมข้อมูลของสายพันธุ์ดีเด่น 44/3C7-2B(W)3 เพื่อน าไปเสนอเป็นฝ้ายพันธุ์รับรอง
ของกรมวิชาการเกษตร
______________________________________
3/
2/
1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี
6/
5/
4/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร
182