Page 350 - บทคัดย่อการทดลองสิ้นสุด 60
P. 350
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย ทดสอบและพัฒนาระบบการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
2. โครงการวิจัย ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไม้ผลคุณภาพเพื่อการส่งออก
ในพื้นที่ภาคตะวันออก
3. ชื่อการทดลอง ส ารวจระบบการจัดการผลิตมะม่วงน้ าดอกไม้เพื่อการส่งออกของเกษตรกร
ในจังหวัดฉะเชิงเทรา
1/
2/
4. คณะผู้ด าเนินงาน จารุณี ติสวัสดิ์ ชาติ วัฒนวรรณ
3/
อรุณี วัฒนวรรณ หฤทัย แก่นลา 4/
เพ็ญจันทร์ วิจิตร 4/ นพดล แดงพวง 4/
4/
อรุณี แท่งทอง เบญจรัตน์ เลิศการค้าสุข 5/
5. บทคัดย่อ
การส ารวจระบบการจัดการผลิตมะม่วงน้ าดอกไม้เพื่อการส่งออกของเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ในปี 2559 ถึง ปี 2560 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการผลิตมะม่วงของเกษตรกรที่ท าการผลิต
เพื่อการส่งออก ปัญหา อุปสรรคในการผลิต และข้อเสนอแนะจากเกษตรกรผู้ผลิต เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ในการวางแผนการด าเนินงานในการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร พัฒนาการผลิตของเกษตรกรให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และสังเกตการปฏิบัติงานในแปลงของเกษตรกรควบคู่ไปด้วย
คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรที่ผลิตมะม่วงในระบบ GAP ของจังหวัดฉะเชิงเทรา จ านวน 92 ราย
พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ ใช้ประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงมายาวนานกว่า
10 ปี มีการรวมกลุ่มเกษตรกรในการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก และยึดเป็นอาชีพหลักของครอบครัว
พื้นที่ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน ปลูกในสภาพไร่ ไม่มีแหล่งน้ า เกษตรกรมี
ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต และการจัดการโรค แมลงศัตรูมะม่วง ผ่านระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
ส าหรับพืช (GAP) ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ผ่านการรับรองมานานกว่า 10 ปี การเก็บเกี่ยว เพื่อส่งออกมักจะ
เก็บเกี่ยวมะม่วงที่ไม่แก่จัดนัก ไม่มีต่อมน้ ามันชัดเจน และจมน้ าเพียงเล็กน้อย มีการคัดแยกขนาด
และคุณภาพเบื้องต้นในแปลงเกษตรกร แล้วน าไปส่งที่จุดรวบรวมของกลุ่ม เพื่อให้บริษัทส่งออกมาคัดแยกอีก
ครั้งหนึ่ง ตลาดส่งออกหลักของมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา คือ ญี่ปุ่น รองลงมา คือ เวียดนาม และ ยุโรป
โดยทางกลุ่มจะเป็นผู้ประสานงานกับบริษัทที่มารับซื้อเพื่อส่งออก ในบางปีมีการท าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับบริษัทส่งออก ท าให้เกษตรกรมีแรงผลักดันในการผลิตมะม่วง เนื่องจากทราบราคา
รับซื้อล่วงหน้า และตลาดรองรับที่ชัดเจน
ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
คือ ปัญหาการจัดการแปลง ปัญหาที่มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อมของการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป และ
ปัญหาด้านโรค แมลงศัตรูที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิต ท าให้เกษตรกรเสียโอกาสในการผลิตเพื่อ
ส่งออก
_______________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา
2/ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย
3/ กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช
4/ ส านักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
5/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี
332