Page 348 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 348
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออก
2. โครงการวิจัย ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงหิมพานต์ในพื้นที่ภาคตะวันออก
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาผลของอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการอบแห้งเยื่อหุ้มเมล็ด
มะม่วงหิมพานต์ด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน
Study on Suitable Time and Temperature Set of Pellicle
Cashew Nut Drying with Hot Air Dryer
1/
1/
4. คณะผู้ด าเนินงาน ธนาวัฒน์ ทิพย์ชิต พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์
1/
คุรุวรรณ์ ภามาตย์ บัณฑิต จิตรจ านงค์
1/
อนุสรณ์ สุวรรณเวียง สุชาดา ศรีบุญเรือง 2/
1/
5. บทคัดย่อ
ศึกษาชุดอุณหภูมิที่เหมาะสมในการอบแห้งเยื่อหุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตเพื่อการแปรรูป โดยเปรียบเทียบกับวิธีการอบแห้งด้วยอุณหภูมิเดียวคงที่
ซึ่งเป็นวิธีการเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาการปฏิบัติงาน การใช้พลังงานไฟฟ้า
พลังงานเชื้อเพลิงและต้นทุนค่าใช้จ่ายท าการศึกษาชุดอุณหภูมิการอบแห้ง 5 กรรมวิธี ได้แก่กรรมวิธีที่ 1
อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียสคงที่ 12 ชั่วโมง, กรรมวิธีที่ 2 อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมงและ 75 องศา
เซลเซียส 11 ชั่วโมง, กรรมวิธีที่ 3 อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมงและ 75 องศาเซลเซียส 9 ชั่วโมง,
กรรมวิธีที่ 4 อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมงและ 75 องศาเซลเซียส 10 ชั่วโมงและกรรมวิธีที่ 5
อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมงและ 75 องศาเซลเซียส 8 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่าชุดอุณหภูมิการ
อบลดความชื้นกรรมวิธีที่ 5 มีความเหมาะสมที่สุด ใช้เวลาสั้น ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิง โดยที่
คุณภาพของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ
6. การน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
เผยแพร่วารสารวิชาการเกษตร, การประชุมวิชาการระดับชาติ, คู่มือส าหรับเกษตรกรและ
จัดนิทรรศการเผยแพร่สู่กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการส่งออก และผู้ที่สนใจทั่วไป
________________________________________
1/
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี
2/
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี
330