Page 383 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 383

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560


                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการผลิตพืชในพื้นที่ชุ่มน้ าเพื่อใช้ประโยชน์

                                                   ด้านเกษตรและอุตสาหกรรม
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาระบบการผลิตพืชที่มีศักยภาพในพื้นที่ชุ่มน้ า
                                                   เพื่อใช้ประโยชน์ด้านเกษตรและอุตสาหกรรม
                       3. ชื่อการทดลอง             ส ารวจ รวบรวม และศึกษาต้นคล้าในประเทศไทย

                                                   Exploration,  Collection  and  Growth  Development  of  Kla
                                                   (Schumannianthus dichotomus) (Roxb.) Gagnep. in Thailand
                       4. คณะผู้ด าเนินงาน         มนต์สรวง  เรืองขนาบ          กาญจนา  ทองนะ  2/
                                                                     1/
                                                   สมชาย  บุญประดับ             เมธาพร  พุฒขาว 4/
                                                                   3/
                                                               1/
                                                   ลักษมี  สุภัทรา              อาริยา  จูดคง 2/
                       5. บทคัดย่อ
                              การส ารวจ รวบรวม และศึกษาต้นคล้าในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายพันธุ์
                       การใช้ประโยชน์ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา การเจริญเติบโต และพันธุกรรมของต้นคล้าในประเทศไทย

                       โดยสุ่มส ารวจในพื้นที่ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก ของประเทศไทย
                       และน ามาปลูก เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา การเจริญเติบโต และพันธุกรรมของต้นคล้า ต้นคล้าทั้ง
                       4 ภาค ในธรรมชาติพบในพื้นที่ชุ่มน้ า และที่ชื้นแฉะ แต่ต้นคล้าที่มีการน ามาปลูกพบทั้งที่เป็นพื้นที่ชื้นแฉะ

                       และเป็นพื้นที่ดอน ต้นคล้าสามารถเจริญเติบโตได้ในดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วน และดินร่วน
                       ปนทราย การใช้ประโยชน์ต้นคล้าในประเทศไทยส่วนใหญ่น ามาจักสาน ผลิตภัณฑ์ที่นิยมผลิตมาก คือ
                       เสื่อคล้า และกระติบข้าว การเปรียบเทียบความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นคล้าทั้ง 4 จังหวัด
                       (จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดสงขลา) ด้วยเทคนิค RAPD พบว่ามีความ
                       แปรปรวนทางพันธุกรรมเล็กน้อย แม้ว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยาจะเหมือนกัน ส าหรับการเจริญเติบโต

                       ของ ต้นคล้าในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 – เดือนมิถุนายน 2560 มีการแตกหน่อใหม่ทั้งปี มีจ านวน
                       หน่อใหม่สูงสุดในเดือนตุลาคม 2559 คือต้นคล้าร้อยเอ็ด จ านวน 11 หน่อ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางล าต้น
                       สูงสุด คือต้นคล้าสตูล เท่ากับ 18.64 มิลลิเมตร และความสูงล าต้นสูงสุด คือต้นคล้าหนองบัวล าภู เท่ากับ

                       145.00 เซนติเมตร ส าหรับจ านวนใบมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2560 คือต้นคล้าร้อยเอ็ด จ านวน 42 ใบ
                       รากต้นคล้า มีความยาวรากและความหนาแน่นของรากมากที่สุด ที่ระดับ 41 - 60 เซนติเมตร มีขนาด
                       เส้นผ่านศูนย์กลางรากมากที่สุดที่ระดับความลึก 21 - 40 เซนติเมตร ความเขียวใบ มีค่าอยู่ในช่วง 41.04 ถึง
                       47.82 จากงานวิจัยต้นคล้าเป็นพืชที่มีการน าไปใช้ประโยชน์สร้างรายได้ให้กับชุมชนในหลายพื้นที่

                       และมีความหลากหลายในธรรมชาติ จึงควรที่จะมีการศึกษาต่อไป




                       _________________________________________
                       1/
                        ส านักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
                       2/
                        ศูนย์วิจัยปาล์มน้ ามันกระบี่
                       3/
                        ส านักผู้เชี่ยวชาญ
                       4/
                        ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง


                                                          365
   378   379   380   381   382   383   384   385   386   387   388