Page 424 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 424
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ตามมารฐานสากล
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ ปุ๋ย พืช ดิน และ น้ า
3. ชื่อการทดลอง การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ธาตุอาหารรองในปุ๋ยเคมี
ของห้องปฏิบัติการพื้นที่ ภาคตะวันออก
Validate Method of Minor Nutrient in Chemical Fertilizer at
Laboratory Eastern Region
4. คณะผู้ด าเนินงาน อุมาพร รักษาพราหมณ์ เกษสิริ ฉันทพิริยะพูน 1/
1/
5. บทคัดย่อ
การทดลองได้ท าการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ธาตุอาหารรองในปุ๋ยเคมี
มีวัตถุประสงค์เพื่อท าการตรวจสอบเพื่อยืนยันความเหมาะสมของวิธีที่ห้องปฏิบัติการส านักวิจัย
และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 น ามาใช้ในการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ธาตุอาหารรอง
ในปุ๋ยเคมี เป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านการตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย เพื่อให้บริการทางวิชาการ
และการด าเนินการทางกฎหมาย โดยการยืนยันคุณลักษณะเฉพาะของวิธีวิเคราะห์ (method
performance
characteristics) และประเมินด้วยวิธีทางสถิติว่าวิธีวิเคราะห์นี้มีความถูกต้องและเหมาะสมตามวัตถุประสงค์
ของการใช้งาน คุณลักษณะเฉพาะของวิธีเหล่านี้ได้แก่ ความแม่น (Accuracy) โดยท าการประเมินค่า
เปอร์เซ็นต์การคืนกลับ (Recovery) ของตัวอย่างอ้างอิง ที่ความเข้มข้นระดับสูง (ที่ความเข้มข้น Cao 43.6
เปอร์เซ็นต์ MgO 21.03 เปอร์เซ็นต์ และ S 24.20 เปอร์เซ็นต์) ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับ 100.83,
100.97, และ 98.67 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ที่ความเข้มข้นระดับกลางที่ Cao 31.48 เปอร์เซ็นต์ และ S 17.8
เปอร์เซ็นต์ ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับ 99.59, 98.77 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ที่ความเข้มข้นระดับต่ า
ที่ระดับ Cao 1.3 เปอร์เซ็นต์ MgO 2.97 เปอร์เซ็นต์ และ S 14.3 เปอร์เซ็นต์) ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับ
102.38, 97.39, 98.16 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ และจากการประเมินค่าความเที่ยง (Precision) โดยพิจารณา
จากค่า HORRAT ค่าความเที่ยงของทุกระดับความเข้มข้นอยู่ในเกณฑ์ยอมรับ คือน้อยกว่า 2 และได้ท าการ
ประเมิน Intermidiate Precission ค่าความเที่ยงของทุกระดับความเข้มข้นอยู่ในเกณฑ์ยอมรับคือน้อยกว่า
2 ความเป็นเส้นตรง (linearity) พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นทุกธาตุจากการประเมินพบว่าขีดจ ากัดของการ
ตรวจวัด (LOQ) อยู่ที่ Cao 0.4 เปอร์เซ็นต์ MgO 0.2 เปอร์เซ็นต์ และ S 0.2 เปอร์เซ็นต์) และเมื่อประเมิน
ความถูกต้อง ความแม่น และความเป็นเส้นตรง พบว่า ผ่านเกณฑ์ประเมิน ซึ่งท าให้สามารถยืนยันได้ว่าวิธีการ
วิเคราะห์ธาตุอาหารรองในปุ๋ยเคมีที่ห้องปฏิบัติการส านักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ใช้อยู่มีความ
น่าเชื่อถือสามารถน าไปเป็นวิธีมาตรฐานในการทดสอบ และสามารถน าไปใช้ส าหรับให้บริการแก่เกษตรกร
ผู้ประกอบการ และการด าเนินการตามกฎหมายได้
___________________________________________
1/ ส านักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
406