Page 454 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 454
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรตาม
มาตรฐานสากล
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างของวัตถุอันตราย
ทางการเกษตร
3. ชื่อการทดลอง การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้าง Organophosphate
และ Pyrethroid ในมะม่วงของห้องปฏิบัติการ สวพ.8
1/
4. คณะผู้ด าเนินงาน สาวิตรี เขมวงศ์ สรัญญา ช่วงพิมพ์ 1/
5. บทคัดย่อ
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณสารตกค้าง โดยการใช้วิธีวิเคราะห์แบบรวม
(multi-residue analysis) ในสารกลุ่ม organophosphate จ านวน 7 ชนิดสาร ได้แก่ dichlorvos,
diazinon, chlorpyrifos-methyl, pirimiphos-methyl, chlorpyrifos, pirimiphos-ethyl และ ethion
และกลุ่ม pyrethroid จ านวน 4 ชนิดสาร ได้แก่ bifenthrin, lamda cyhalothrin, cypermethrin
และ deltamethrin ในมะม่วง โดยใช้วิธีสกัดที่ดัดแปลงจากวิธี Steinwandter (1985) ร่วมกับเทคนิคการ
วิเคราะห์ชนิดสารด้วยเครื่อง gas chromatography (GC) ที่มีตัวตรวจวัดชนิด flame photometric
detector (FPD) ส าหรับวิเคราะห์สารกลุ่ม organophosphate และ electron capture detector (ECD)
ส าหรับวิเคราะห์สารกลุ่ม pyrethroid ผลการตรวจสอบพบช่วงของการวัด (range) ในสารกลุ่ม
organophosphate อยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.01 ถึง 4.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสารกลุ่ม pyrethroid
อยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.01 ถึง 2.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (Correlation
coefficient; r) อยู่ในช่วง 0.99939 ถึง 1.00000 และให้ค่าความเป็นเส้นตรง (linearity) ของสารกลุ่ม
organophosphate อยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.01 ถึง 2.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสารกลุ่ม pyrethroid
อยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.01 ถึง 1.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ อยู่ในช่วง
0.99847 ถึง 1.00000 การพิสูจน์ความแม่นและความถูกต้อง (accuracy) ของวิธีทดสอบประเมินจาก
ร้อยละการกลับคืน (% recovery) ที่ระดับความเข้มข้นต่ า กลางและสูง ของสารตกค้าง ได้แก่
0.01, 0.1 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบค่าอยู่ในช่วง 90ถึง 111, 90 ถึง 105 และ 93 ถึง 101
เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ การหาค่าความเที่ยง (precision) ที่ความเข้มข้น 0.01, 0.1 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม พบว่า ทั้งแบบการทวนซ้ า (repeatability precision) และการท าซ้ า (reproducibility precision)
ให้ค่า % RSD ระหว่าง 0.808 ถึง 12.089 และค่า HORRAT (Horwitz ratio) < 2 ซึ่งผ่านเกณฑ์การยอมรับ
ส่วนค่าขีดจ ากัดของการตรวจพบ (limit of detection; LOD) ในสารกลุ่ม organophosphate ได้แก่
dichlorvos, diazinon และ chlorpyrifos-methyl เท่ากับ 0.006 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมส่วน
pirimiphos-methyl, chlorpyrifos, pirimiphos-ethyl และ ethion เท่ากับ 0.007 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม ขณะที่สารกลุ่ม pyrethroid ทุกชนิดสารมีค่าเท่ากับ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้
เมื่อหาค่าขีดจ ากัดของการวัดเชิงปริมาณ (limit of quantitation; LOQ) ในทุกชนิดสารมีค่าเท่ากับ 0.01
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งจากผลการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า วิธีการวิเคราะห์สาร
ตกค้างในมะม่วงนี้มีความเหมาะสมที่จะน าไปวิเคราะห์ตัวอย่างและให้ผลได้อย่างถูกต้องและแม่นย า
______________________________________________
ส านักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
436