Page 469 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 469

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560


                       1. ชุดโครงการวิจัย          การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

                       2. โครงการวิจัย             การค้นหาและศึกษาหน้าที่ของยีนเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้
                                                   เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
                       3. ชื่อการทดลอง             การโคลน ถ่ายฝากและศึกษายีน GmPR1 เพื่อความต้านทานโรคในพืช
                                                   ต้นแบบ Arabidopsis thaliana ส าหรับเตรียมการถ่ายฝากสู่ถั่วเหลือง

                                                   Cloning, Expressing and Studying of GmPR1 Gene in Arabidopsis
                                                   thaliana
                                                                   1/
                       4. คณะผู้ด าเนินงาน         จีราพร  แก่นทรัพย์           ขนิษฐา  วงศ์วัฒนารัตน์
                                                                                                    1/
                                                   ประสาน  สืบสุข               กุหลาบ  คงทอง
                                                                1/
                                                                                             1/
                       5. บทคัดย่อ
                              งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อโคลนและถ่ายฝากยีนต้านทานโรค GmPR1 ในพืชต้นแบบ
                       Arabidopsis thaliana ทดสอบประสิทธิภาพก่อนการถ่ายฝากสู่ถั่วเหลือง โดยส่วน promoter หรือชิ้นส่วน
                       ดีเอ็นเอที่ควบคุมการแสดงออกของยีนจะใช้ promoter ของยีน Glyma04g05080 ที่มีรายงานว่ามีการ

                       แสดงออกสูงในส่วนใบ ดอก และราก แต่มีการแสดงออกต่ าในเมล็ดและไม่แสดงออกในเมล็ดระยะใกล้เก็บเกี่ยว
                       การถ่ายฝากชุดยีน GmPR1 ภายใต้การควบคุมของ promoter ดังกล่าวจะท าให้ยีน GmPR1 แสดงออกในระดับ
                       ที่สูงกว่าถั่วเหลืองปกติโดยแสดงออกเฉพาะส่วนใบ ดอกและราก ส่งผลให้สามารถผลิตถั่วเหลืองที่มีความ

                       ต้านทานต่อโรคได้ โดยไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคเมล็ดถั่วเหลือง ในงานวิจัยท าการสกัดดีเอ็นเอจากใบ
                       ของถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5 ซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานโรคราสนิม โรคราน้ าค้าง และโรคใบจุดนูน ส าหรับ
                       น ามาใช้เป็นดีเอ็นเอต้นแบบ (template DNA) ในการโคลนยีน GmPR1 และชิ้นส่วน promoter เนื่องจาก
                       ยีน GmPR1 ประกอบด้วยส่วน Exon เพียงชนิดเดียว ไม่มีส่วน Intron ในตัวยีน กล่าวคือ มีล าดับ
                       เบสเหมือนกับจีโนมดีเอ็นเอ และชิ้นส่วน promoter เป็นจีโนมดีเอ็นเอเช่นเดียวกัน

                              ผลการโคลนยีน GmPR1 ได้พลาสมิดดีเอ็นเอสายผสมของยีน GmPR1 ภายใน cloning vector
                       ชื่อพลาสมิด pBS 35S MCS GmPR1 โดยชิ้นส่วนยีน GmPR1 ที่ท าการโคลนมีขนาดถูกต้อง (525 bp)
                       และมีล าดับ ดีเอ็นเอถูกต้องตรงตามฐานข้อมูล SoyBase และ National Center for Biotechnology

                       Information (NCBI) โดยมีความเหมือน (Identities) กับ CDS ของยีน GmPR1 (Glyma13g251600)
                       100 เปอร์เซ็นต์ สามารถน าไปต่อยอดในการสร้างชุดยีนอื่นๆ เพื่อผลิตพันธุ์พืชที่ต้านทานโรคสูงในอนาคต
                              ส าหรับผลการโคลนชิ้นส่วน promoter ได้พลาสมิดดีเอ็นเอสายผสมของ promoter ขนาด 1,000
                       bp ภายใน cloning vector ชื่อพลาสมิด pBS 35S MCS A1000 โดยชิ้นส่วน promoter ที่ท าการโคลน

                       มีขนาดถูกต้อง (1,000 bp) และมีล าดับดีเอ็นเอถูกต้องตรงตามฐานข้อมูล Soybean Upstream
                       Regulatory Element (SURE) โดยมีความเหมือน (Identities) กับล าดับดีเอ็นเอของ A1000 ที่รายงานใน
                       ฐานข้อมูล SURE คิดเป็น 98.9 เปอร์เซ็นต์ สามารถน าไปต่อยอดในการสร้างชุดยีนอื่นๆ โดยใช้เป็นส่วนที่
                       ควบคุมการแสดงออกของยีน



                       _____________________________________________
                       1/ ส านักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ







                                                          451
   464   465   466   467   468   469   470   471   472   473   474