Page 73 - ชุดการเรียนการสอน สาระประวัติศาสตร์ 100
P. 73
พ.ศ. 2516
เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม
นายกรัฐมนตรีได้ใช้ก าลังทหารยึดอ านาจของตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2516
ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และหันไปใช้อ านาจเผด็จการปกครอง ท าให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาลนิสิตนักศึกษาต่างเห็นว่า
การการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองควรที่จะต้องมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ จึงได้มีการรวมตัว
ชุมนุมได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางจนน าไปสู่การเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 เมื่อรัฐบาลใช้ก าลัง
ทหาร ต ารวจปราบปรามด้วยวิธีที่รุนแรง ท าให้นิสิตนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจ านวนมาก
โดยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516สิ้นสุดลงเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพลเอก
ณรงค์ กิตติขจร เดินทางออกนอกประเทศและโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ด ารงต าแหน่ง
นายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ
เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม
พ.ศ. 2519
ผ
นิสิตนักศึกษาได้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้จอมพลถนอม กิตติขจร เดินทางออกไปนอกประเทศภายหลัง
ที่เดินทางเข้ามาในประเทศอีกการชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษา ท าให้เจ้าหน้าที่ต ารวจบุกเข้าไปสลายการ
ท าให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจ านวนมาก ครั้นตอนเย็นในวันเดียวกัน คณะทหารที่เรียกตนเองว่า คณะปฎิรูปการ
ปกครองแผ่นดิน ได้ท าการยึดอ านาจการปกครองประเทศ รัฐบาลภายหลังการรัฐประหารได้มีนโยบายต่อต้าน
คอมมิวนิสต์อย่าเข้มงวด ท าให้นิสิตนักศึกษาส่วนหนึ่งหลบหนีเข้าป่าเพราะเกรงจะไม่ปลอดภัย
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
พ.ศ.2535
วันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ได้มีการชุมนุมประท้วงการขึ้นด ารงต าแหน่งนายกรัฐมนตรีของพล
เอก สุจินดา คราประยูร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บังคับบัญชาทหารบก ที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง
รัฐบาลได้ใช้ก าลังปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรง ท าให้มีผู้ล้มตายเป็นจ านวนมากจึงเรียกว่า เหตุการณ์พฤษภา
ทมิฬ เหตุการณ์ยุติลงด้วยพระบารมีปกเกล้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมานายกรัฐมนตรีได้ประกาศ
ลาออกจากต าแหน่ง หลังจากนั้นมาการเมืองไทยได้เข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และมีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญอีกหลายครั้งจนในที่สุดได้มีการร่าง
รัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540