Page 4 - หนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย
P. 4

[4]
               โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น มนุษย์ชาวและมนุษย์ปักกิ่ง  ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อ
               ประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่1 และจังหวัด

                              [4]
               เชียงราย1อีกด้วย  อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า1


                           ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลาง1ในหลายจังหวัด โดยที่อําเภอไทรโยค1

               ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทําให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่นํ้ากลอง1ไหล


               ผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี  ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย
                                                               ]
               อายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบที่1จังหวัดแม่ฮ่องสอน  จึงทําให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียง

               ใต้ 1เป็นถิ่นกําเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลก นอกจากนี้ยังค้นพบขวานหินขัดในหลาย
               ภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินใหม่1



                  การขุดค้นโดยนายวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร1 ทําให้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหม

               ติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 1 ซึ่งคาดว่ามีอายุถึง 3,000 ปี  ก่อนที่การ

               ค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตําบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันว่ามีอายุ 5,000 ปี อาจเป็น
                                                                        1

               จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ไปส่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย นาย
               ดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นขวานทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น1 ยืนยันถึงการใช้

               เครื่องสําริดในยุคหินใหม่1 ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี
   1   2   3   4   5   6   7   8   9