Page 5 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 5

ข

                       ขาดความรู้และข้อมูลข่าวสาร ขาดการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ขาดการออกก าลังกายที่
                       เหมาะสม ขาดการร่วมกิจกรรมทางสังคม ขาดการเยี่ยมบ้านจากเจ้าหน้าที่ ขาดโอกาสในการท่องเที่ยง
                       พักผ่อนหย่อนใจ หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนารูปแบบ เมื่อเปรียบเทียบด้านความรู้ พบว่า
                       หลังการพัฒนารูปแบบมีความรู้มากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบร้อยละ 9.70 ด้านการปฏิบัติ พบว่า หลัง

                       การพัฒนารูปแบบมีการปฏิบัติตนเองมากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบร้อยละ 14.20 ซึ่งมีระดับความรู้
                       แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นการดูแลอนามัยส่วนบุคคล และการป้องกันโรค
                       “ไม่แตกต่างกัน” p – value > .05 และระดับการฝึกปฏิบัติ แตกต่างกัน ทุกด้าน อย่างมีนัยส าคัญทาง
                       สถิติที่ระดับ .05 และผลการตรวจเลือด(ชีวะเคมี) โดยรวมมีสุขภาวะดีขึ้น

                                จะเห็นได้ว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่น าหลักพุทธธรรมมาบูรณาการให้สอดคล้อง

                       กับวิถีชุมชน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้ และมีการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้จักวิธีการ
                       ป้องกันโรคได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                       ค าส าคัญ: การพัฒนารูปแบบ การดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ หลักพุทธธรรม :
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10