Page 146 - หนังสืออนุทิน พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ. ๙) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี, ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา.
P. 146

นายน้อย คนที่ ๕ ของพี่น้อง ๘ คน มีภรรยา ๒ คนชื่อนางริ้ว

                กับภรรยาคนที่ ๒ ไม่ทราบชื่อ แต่ทราบชื่อชั้นลูกๆ มีชื่อนายนะ มีแก้วน้อย
                คนหนึ่ง

                       นายน้อย-นางริ้ว มีแก้วน้อย สันนิษฐานว่า ค�าว่า “น้อย”
                ที่ห้อยท้ายนั้น เป็นชื่อของสายที่ขอจดทะเบียนนามสกุล หรืออยู่ในช่วง

                ที่นามสกุลเพิ่งบังเกิดบังคับใช้ในยุคแรกๆ ซึ่งลูกหลานเห็นพ้องต้องกันว่า
                เอาค�าว่า “น้อย” มาเป็นที่ระลึกสักชื่อหนึ่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการให้

                ลูกหลานรู้จักกันไว้เถิด เมื่อเกิดเป็นไทย
                       นายน้อยกับนางริ้ว มีแก้วน้อย มีบุตรธิดาด้วยกัน ๗ คน คือ

                “นางขม ซึ่งจะกล่าวต่อไปเฉพาะในสายนี้, นางแจ่ม, นางฉ�่า, นางแหวด,
                นางจีน (+นายติ่ง แสงจินดา) เป็นโยมมารดาบิดาของหลวงพ่อหอม เกสโร

                นามสกุล แสงจินดาที่มีรูปภาพอยู่ท้าย), นายแก้ว, นางสุดใจ (+นายเงิน
                แซ่จิว) เป็นโยมมารดาบิดาของพระมงคลเทพมุนี (สด มีแก้วน้อย)”

                       ไล่เฉพาะสายที่ ๑ คือสายนางขม ซึ่งเป็นคุณย่าของ เจ้าพระคุณ
                สมเด็จฯ ป๋า แต่งงานกับก๋งฮะ ซึ่งในเอกสารเขียนว่า “นายขะ แซ่เจีย”

                จากแซ่เจี่ย (ใส่วรรณยุกต์ไม้เอก ตามที่เขียนและใช้ในปัจจุบัน ในสมัย
                ก่อนนั้น) ลูกหลานได้เปลี่ยนเป็นนามสกุลว่า “สุขเจริญ” หากถามว่า

                “ใครเป็นผู้ขอจดทะเบียนนามสกุลที่เปลี่ยนจากแซ่เป็นนามสกุล?”

                นายบรรเจิด สุขเจริญบอกว่า น่าจะเป็นก๋งเฮ้ง ซึ่งในเอกสารชิ้นนี้
                เขียนว่า “นายเห่ง สุขเจริญ” แต่งงานกับนางทิม ซึ่งเป็นสายของ
                นายบรรเจิด สุขเจริญ (ลูกพ่อไหล สุขเจริญ, หลานปู่เห่ง) โดยให้

                เหตุผลว่า “เฮ้ง” แปลว่า “โชคดี” ดังในค�าพูดที่ว่า ขอให้เฮง ขอให้เฮง

                คือขอให้ร�่ารวยมีชัย ให้เฮงๆ ขึ้นไป






          144 อนุทินประจ�ำวัน
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151