Page 26 - หนังสืออนุทิน พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ. ๙) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี, ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา.
P. 26
อ�าเภอศรีประจันต์ มีหลวงพ่อสม (พระครูศรีคณานุรักษ์) เจ้าคณะ
อ�าเภอศรีประจันต์ วัดดอนบุปผารามเป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ทอง
เจ้าอาวาสวัดพังม่วง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาผล ภัททิโย
(พระภัทรมุนี ต่อมา ด�ารงต�าแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
วัดไชนาวาส) วัดพังม่วง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากบวชพระแล้ว
ได้ ๓ วัน ได้กลับไปจ�าพรรษาที่วัดโคกโคเฒ่า (ถิ่นฐานบ้านช่องดั้งเดิม
ของมารดาบิดา ที่ย้ายออกไปประกอบอาชีพที่ดอนปรู ศรีประจันต์)
แล้วย้ายไปอยู่วัดไชนาวาส (๒๔๘๐) สอบได้นักธรรมชั้นตรี (๒๔๘๑),
นักธรรมชั้นโท (๒๔๘๕), นักธรรมชั้นเอก (๒๔๘๙)
หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาพระอภิธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตา
ราม (๒๔๙๙) จนสอบได้วิชาพระอภิธรรม (๒๕๐๓) แล้วได้ศึกษา
ทางด้านวิปัสสนาอย่างลึกซึ้ง กลับมาจ�าพรรษาวัดไชนาวาส เมื่อ
วัดปราสาททองริเริ่มศึกษาอบรมและการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ได้เข้าร่วมฝึกฝน และได้เดินทางไปเข้ารับการอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐาน
จากอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับการศึกษา
เพิ่มเติมอีกประมาณ ๕ เดือนเศษ (๒๕๐๔)
ท่านเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสหลายวัด เช่น วัดไชนาวาส
และวัดปราสาททอง แต่ไม่ปรารถนาจะครองต�าแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
มีต�าแหน่งเดียวที่ท่านมีคือ “พระธรรมธร” (๒๔๘๙) ฐานานุกรม
ในเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี พระวิกรมมุนี (ผล อุปติสฺโส ป.ธ.๕)
วัดปราสาททอง ดังนั้น มีชื่อทางการจริงๆ ว่า “พระธรรมธรสุนทร”
หรือ “พระธรรมธรไฮ้” แต่ชื่อที่สร้างชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักทั่วไป
ของญาติโยม คือ “พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาวัดปราสาททอง”
24 อนุทินประจ�ำวัน