Page 41 - ปทุมวัน
P. 41
33
วัฒนธรรม เป็นมรดกแห่งสังคม มีทั้งส่วนจับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ เช่น กวีนิพนธ์
ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นปัจจัยส าคัญในการก่อร่างสร้างความประพฤติปฎิบัติ
ของประชาชาติ
วัฒนธรรม ตามความหมายของพระยาอนุมานราชธน (2532: 45 - 48) ได้ให้บท
นิยาม ค า “วัฒนธรรม” ว่าวัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น
เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้
วัฒนธรรม คือผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็น
ประเพณีกันมา
วัฒนธรรม คือความรู้สึก ความคิดเห็น ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระท า
ใด ๆ ของมนุษย์ใน ส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และส าแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ
ความเชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น
วัฒนธรรม คือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของ
ส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา
วัฒนธรรม ตามความหมายของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต) ได้อธิบายความหมายของ
วัฒนธรรมเมื่อคราวแสดงปาฐกถาพิเศษ 100 ปี ของพระยาอนุมานราชธน เรื่อง “วัฒนธรรมกับการ
พัฒนา” ไว้เป็นหลายนัยอย่างน่าพิจารณา ดังนี้
วัฒนธรรม เป็นผลรวมของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์และภูมิธรรมปัญญา ที่ถ่ายทอดสืบต่อ
กันมาของสังคมนั้น ๆ
วัฒนธรรม เป็นการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ภูมิธรรมภูมิปัญญาทั้งหมด
ที่ได้ช่วยให้มนุษย์ในสังคมนั้นๆ อยู่รอด และเจริญสืบต่อได้ และเป็นอยู่อย่างที่เป็นในบัดนี้
วัฒนธรรม คือผลรวมของทุกสิ่งซึ่งเป็นความเจริญงอกงามที่สังคมนั้นๆ ได้ท าไว้ หรือได้
สั่งสมมาจนถึงบัดนี้
วัฒนธรรม เป็นทั้งสิ่งที่ท าให้เจริญงอกงามสืบมา และเป็นเนื้อตัวของความเจริญงอดกงาม
ที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของความเจริญงอกงามต่อไปตลอดจนเป็นเครื่องวัดระดับความเจริญงอกงาม
ของสังคมนั้นๆ
พระยาอนุมานราชธน ได้จ าแนกประเภทของวัฒนธรรมออกเป็น
ประเภทที่ 1 วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขกายเพื่อให้ได้อยู่ดีกินดีมีความ
สะดวกสบายในการครองชีพ ได้แก่สิ่งความจ าเป็นเบื้องต้นในชีวิต 4 อย่างและสิ่งอื่นๆ เช่น เครื่องมือ
เครื่องใช้ ยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์เครื่องป้องกันตัว