Page 11 - Pathumwan
P. 11
3
โครงสร้างรายวิชา
สรุปสาระส าคัญ
กกกกกกก1. บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับท้าวมหาพรหม
1.1 ท้าวมหาพรหม หมายถึง ผู้เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู
เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้ก าเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล
และให้ก าเนิดคัมภีร์พระเวท เป็นผู้ก าหนดชะตาของมนุษย์ทุกคน เป็นเจ้าผู้สร้างโลกในศาสนา
พราหมณ์-ฮินดู พระพรหมได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา โดยวรรณะต่างๆ ของชาวอินเดีย มีก าเนิดมาจากส่วน
ต่างๆ ของพระพรหม
1.2 ความส าคัญของท้าวมหาพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ มีอานุภาพใน
การลิขิตชะตาชีวิต พระพรหมเป็นผู้คุ้มครองคนดีและลงโทษผู้กระท าบาป ผู้มีกิเลสตัณหาจะถูกพระ
พรหมลิขิตให้ชีวิตมีแต่ความล าบาก ในคติพุทธศาสนา พระพรหมเป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงกว่าเทวดา มี
การวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม พระพรหมในพุทธศาสนาเป็น พระพรหม
ผู้วิเศษ ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร และในคติพระพรหมของพราหมณ์ -
ฮินดู พระเจ้าผู้สร้างและลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้ก าหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน
พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต เหตุการณ์ส าคัญของโลกล้วนอยู่ในสายตาของ
พระพรหม
1.3 คติความเชื่อ และความศรัทธาที่มีต่อท้าวมหาพรหมของคนไทย ซึ่งรับคติความเชื่อ
จากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ชาวไทยจึงสร้างเทวสถาน เทวาลัย หรือศาลท้าวมหาพรหม เพื่อเป็น
ศูนย์กลางแห่งการเคารพบูชาสร้างไว้หน้าสถานที่ราชการ บริษัท ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และ
โรงพยาบาล ซึ่งได้พบเห็นกันโดยทั่วไป ด้วยเหตุนี้พระพรหมจึงเป็นศูนย์กลางการเคารพบูชา บนบาน
ศาลกล่าวขอให้ช่วยเหลือคุ้มครอง และสิ่งที่พึ่งปรารถนา โดยถวายเครื่องสักการะ เครื่องเซ่นสังเวยให้
ช่วยประทานพร เพราะเชื่อว่าท่านบันดาลให้ความต้องการส าเร็จในสิ่งที่พึ่งปรารถนา จึงมาแก้บน
ตามที่ได้ตั้งจิตอธิฐานไว้
1.4 รูปลักษณ์ของท้าวมหาพรหม พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป
เรียกว่า“รูปพรหม” มีทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า “อรูปพรหม” มีทั้งหมด 4 ชั้น โดย
อรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม ซึ่งพระพรหมมี 4 หน้า และมีอาวุธ ประกอบด้วย ลูกประค า ดอกบัว
คัมภีร์ และหม้อน้ า มีพาหนะเป็นหงส์ มีรูปกายสีทอง ประทับนั่งห้อยพระบาทด้านซ้าย แขนทั้ง 8
ข้าง มีลักษณะคือ แขนที่หนึ่งแนบพระอุระ แขนที่สองถือหม้อ แขนที่สามถือจักร แขนที่สี่ถือ คฑา
แขนที่ห้าถือคัมภีร์ แขนที่หกถือแว่นแก้ว แขนที่เจ็ดถือสังข์ และแขนที่แปดแสดงปางประทานพร