Page 47 - Chom Thong
P. 47

39







                       กกกกกกกก6.  พระวิหารพระยืน หรือ พระวิหารพระประทับยืน
                       กกกกกกกกก พระวิหารพระยืน อยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ ด้านคลองบางหว้า
                       เป็นอาคารทรงโรงแบบจีน หลังคาลดสองชั้น มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยสีเขียวแบบจีน มีขนาดกว้าง
                       13.20 เมตร ยาว 21.20 เมตร มีประตูทางเข้าด้านนอก 2 ประตู ด้านใน 2 ประตู มีหน้าต่าง 16 ช่อง

                       สันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้เป็นอุโบสถเก่าของวัด มีนามว่าวัดจอมทอง เพราะมีพระพุทธรูปหินทราย
                       แบบเก่าประดิษฐานอยู่ ภายในวิหารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนหน้าเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
                       ประทับยืนปางประทานอภัย หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ส่วนหลังมีประตูทางเข้า 2 ประตูอยู่
                       ด้านซ้ายขวาของพระยืน เป็นที่ประดิษฐานกลุ่มพระพุทธรูปที่หันพระพักตร์ไปสี่ทิศ จ านวน 14 องค์

                       เป็นพระนั่ง 10 องค์ พระยืน 4 องค์ ของเดิมเป็นพระพุทธรูปหินทราย ลงรักปิดทอง เมื่อบูรณะใหม่ใช้
                       ปูนปั้นเสริมให้เต็มองค์แล้วลงรักปิดทองทั้งหมด หน้าบันและขอบหน้าบันพระวิหารมีลักษณะเป็นแบบ
                       ศาลเจ้าจีน ประดับด้วยลวดลายดอกไม้และติดถ้วยจานเคลือบสีขนาดต่าง ๆ เป็นระยะด้านละ
                       10 กว่าใบ  ด้านบนสันหลังคา มีถะหรือเจดีย์จีน 5 ชั้นขนาดเล็กเป็นกระเบื้องเคลือบสีตั้งอยู่ตรงกลาง

                       สองข้างของถะมีมังกรกระเบื้องเคลือบสี 2 ตัว เลื้อยไปตามความยาวของสันหลังคา หันหน้าเข้าหาถะ
                       มองเห็นได้แต่ไกลและดูสวยงาม คล้ายเป็นเครื่องประดับอย่างหนึ่ง ที่เหนือบานประตูหน้าต่าง
                       ด้านนอก มีการเขียนลายสีเป็นรูปอักษรไม้มงคลต่าง ๆ เช่น ทับทิม ผลท้อ ส้มมือ ข้าวโพด ด้านหน้า

                       พระวิหารมีสิงโตปูนปั้นท่ายืนขนาดใหญ่ 1 ตัว อยู่ในสภาพที่ช ารุดเอียง
                       กกกกกกกกกก กล่าวโดยสรุป  พระวิหารพระยืน หรือ พระวิหารพระประทับยืน เป็นที่ประดิษฐาน
                       พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร (ปางห้ามญาติ) หล่อโลหะขนาดใหญ่ ศิลปะแบบอู่ทอง เป็นที่
                       ประดิษฐานหมู่พระพุทธรูปหลายปางหลายขนาด มีพระประธานองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
                       ศิลปะแบบอยุธยา  สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถหลังเก่าก่อนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       รัชกาลที่ 3  ดังภาพ
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52