Page 122 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
P. 122
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
2) การตรวจสอบ (Detection) เพื่อดูว่าข้อมูลยังคงมีความน่าเชื่อถือได้อยู่หรือไม่ ซึ่งสามารถ
ตรวจเช็ควิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจาก Log File
3. ความพร้อมใช้ (Availability) ความพร้อมใช้ หมายถึง ความสามารถในการใช้ข้อมูลหรือ
ทรัพยากรเมื่อต้องการ สารสนเทศจะถูกเข้าถึงหรือเรียกใช้งานได้อย่างราบรื่นโดยผู้ใช้หรือระบบอื่นที่ได้รับ
อนุญาตเท่านั้น หากเป็นผู้ใช้หรือระบบที่ไม่ได้รับอนุญาตการเข้าถึงหรือเรียกใช้งานจะถูกขัดขวางและล้มเหลว
ในที่สุด ความพร้อมใช้งานจัดเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคง ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของระบบ ระบบ
อาจถูกโจมตีโดยผู้ไม่ประสงค์ดีที่พยายามท าให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ แนวทางการป้องกัน เช่น การท า
โหลดบาลานซ์ซิง (Load Balancing) เพื่อกระจายงานให้กับเครื่องแม่ข่ายหลายเครื่อง หรือการท าระบบ
ส ารอง (Backup System) เพื่อให้สามารถกู้คืนข้อมูลได้หากข้อมูลเสียหายหากข้อมูลหรือสารสนเทศขาด
คุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน
จากทั้ง 3 คุณสมบัติ ได้แก่ ความลับ ความคงสภาพ และความพร้อมใช้ จะถือว่าข้อมูลหรือ
สารสนเทศนั้นไม่มีความปลอดภัย
อุปสรรคของงานความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ
มีอุปสรรคหลายอย่างในการรักษาความมั่งคงปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศ เช่น
1) เพิ่มค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาความปลอดภัยต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือรักษาความ
ปลอดภัยเพิ่มเติม อาจเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ ซึ่งล้วนแต่ท าให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น
2) ความไม่สะดวก ผู้ดูแลระบบเองก็มีภาระงานด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มขึ้น ส่วนฝั่ง
ผู้ใช้ก็เพิ่มขั้นตอนในการเข้าถึงสารสนเทศ เช่น เสียเวลาในการป้อนรหัสผ่าน หรือต้องผ่านกระบวนการอื่น ๆ
ในการพิสูจน์ตัวตน
3) เพิ่มความซับซ้อนของระบบ ยิ่งมีความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มขึ้น ระบบก็ต้องมีความซับซ้อน
มากขึ้นตามไปด้วย ท าให้ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานใช้งานมีเรื่องต้องศึกษาท าความเข้าใจเพิ่มขึ้น
4) ผู้ใช้ส่วนใหญ่ขาดความรู้ และไม่ใส่ใจเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศอย่างจริงจัง
ท าให้ตัวผู้ใช้เองเป็นจุดอ่อนที่จะถูกโจมตี หรือตกเป็นเหยื่อได้ง่าย
5) การพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ค านึงถึงฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก เรื่องความปลอดภัยมัก
ถูกตามมาปรับปรุงในภายหลัง
6) มีการเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกสถานที่ เนื่องจากระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ
อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยม ผู้ใช้ทุกคนต่างหาหนทางเชื่อมต่ออุปกรณ์ของตนเองเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต
เพื่อเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดทางให้ผู้อื่นเข้าถึงอุปกรณ์ของตนเองอย่างคาด
ไม่ถึง
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 120