Page 29 - แผนปฏิบัติการห้องสมุดประชาชนอำเภอนาหว้า๒๕๖๑OKaraya (1)
P. 29
ความรู้จากเว็บไซต์ การประกวดค าขวัญเพื่อส่งเสริมการอ่าน การจัดค่ายการอ่าน การจัดเวทีแลกเปลี่ยน
เรียนรู้หรือเวทีเสวนาเกี่ยวกับการอ่าน เป็นต้น
ห้องสมุดประชาชนควรมีการจัดองค์ประกอบหรือสัดส่วนหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ไว้ให้บริการ
เช่น มุมหนังสืออ้างอิง มุมหนังสือเด็ก ของเล่นเด็ก หนังสือ/สื่อค้นคว้าอ้างอิง หนังสือพระราชนิพนธ์
พระนิพนธ์ นิพนธ์ และสารานุกรม การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่าย มุม ICT มุมนิทรรศการหนังสือใหม่ มุมจัด
กิจกรรมห้องสมุด/กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มุมดูหนังฟังเพลง เป็นต้น การที่บรรณารักษ์หรือผู้ที่ท าหน้าที่ดูแล
ห้องสมุด จะบริหารจัดการงานห้องสมุดไปได้อย่างมีคุณภาพและสามารถพัฒนาให้เป็นห้องสมุดยุคใหม่
จึงจ าเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้ทั้งด้านการบริหารจัดการห้องสมุดยุคใหม่ การใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
มีทักษะและเข้าใจหลักการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ สื่อเทคโนโลยียุคใหม่ การใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงการจัด
กิจกรรมที่หลากหลาย และเคลื่อนไหวตลอดเวลา
ภารกิจในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอ าเภอนาหว้า นอกจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยอ าเภอนาหว้า ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงแล้ว ยังมีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้ความส าคัญกับการ
พัฒนาห้องสมุด และการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการอ่านให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนคนไทย โดยเข้า
มามีบทบาททั้งแบบให้การสนับสนุนบางส่วน แบบจัดกิจกรรมร่วมกับห้องสมุดประชาชน จนถึงแบบจัดไว้เป็น
ภารกิจเพื่อสังคมนั้น ๆ เช่น บ้านหนังสือชุมชน นอกจากที่กล่าวนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกมากมาย ความร่วมมือ
จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ส่งผลให้ห้องสมุดประชาชนอ าเภอนาหว้าสามารถพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ตลอดไป
เพื่อให้ห้องสมุดประชาชนอ าเภอนาหว้าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยอ าเภอนาหว้าจึงได้จัดท าโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพห้องสมุดประชาชนอ าเภอนาหว้า
ให้เป็นห้องสมุดที่มีมาตรฐาน ส่งผลให้เด็ก เยาวชนและประชาชนคนไทยรักการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและ
ยั่งยืน
๔.วัตถุประสงค์
๔.๑ เพื่อยกระดับคุณภาพห้องสมุดประชาชนอ าเภอนาหว้าให้ได้มาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี
๔.๒ เพื่อจัดให้มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับ
เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป
๔.๓ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อม และจัดบรรยากาศในห้องสมุดที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้
๔.๔ เพื่อพัฒนาบรรณารักษ์ หรือผู้ที่ท าหน้าที่บรรณารักษ์ในห้องสมุดประชาชนอ าเภอนาหว้าในการ
จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต(เน้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทั้งภายในและภายนอก
ห้องสมุด)
๕.เป้ำหมำย