Page 30 - คู่มือสื่อมวลชนงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
P. 30
การศึกษาพระราชทานแก่ประชาชน บริเวณพระต�าหนัก
จะมีโครงการต่าง ๆ เช่น ป่าไม้สาธิต (พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๔)
นาข้าวทดลอง (พ.ศ. ๒๕๐๔) โรงโคนมสวนจิตรลดา
(พ.ศ. ๒๕๐๕) บ่อเพาะพันธุ์ปลานิล (พ.ศ.๒๕๐๘) โรงนมผง
สวนดุสิต (พ.ศ.๒๕๑๒) โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา
(พ.ศ. ๒๕๑๔) โรงบดแกลบ (พ.ศ. ๒๕๑๘) งานผลิตภัณฑ์
บรรจุกระป๋อง (พ.ศ. ๒๕๓๕) โครงการไบโอดีเซล (พ.ศ.
๒๕๔๖) การสาธิตการใช้ประโยชน์จากพลังงานลม
เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า (พ.ศ. ๒๕๕๐) ฯลฯ เป็นแหล่งเรียนรู้
ที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถน�าความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวทางรูปแบบการจัดการ
ที่ดินและน�้าเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์
สูงสุด ที่เรียกว่า ทฤษฎีใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีกิน
ตามอัตภาพ คืออาจไม่รวยมาก แต่ก็พอกิน ไม่อดอยาก
ทฤษฎีนี้คือการแบ่งที่ดินออกเป็นอัตราส่วน ๓๐, ๖๐ และ
๑๐ ที่ดิน ๓๐ เปอร์เซ็นต์แรกขุดสระเก็บกักน�้าไว้ใช้และ
เลี้ยงปลา ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ต่อมาแบ่งเป็นพื้นที่ท�านาข้าว
และปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์อย่างละครึ่ง ที่เหลือ
อีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นที่อยู่อาศัย ลานบ้านและถนน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา
ต�าบลห้วยบง อ�าเภอเมือง จังหวัดสระบุรี เป็นแปลงสาธิต
ถ่ายทอดทฤษฎีใหม่นี้อย่างเป็นรูปธรรม
29