Page 71 - คู่มือสื่อมวลชนงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
P. 71

พระเมรุมาศในสมัยโบราณนับแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
           จะมีรูปสัตว์หิมพานต์นานาชนิด บนหลังตั้งสังเค็ด ผ้าไตร
           ถวายพระสงฆ์อยู่ในขบวนอิสริยยศเชิญพระบรมศพ
           สู่พระเมรุมาศ
               การสร้าง “พระเมรุมาศ” จะมีขนาดและแบบงดงาม
           วิจิตรแตกต่างกันตามยุคสมัยและตามความบันดาลใจ
           ของช่างที่มีปรัชญาในการออกแบบว่าเป็นพระเมรุของ
           กษัตริย์ นักรบ หรือฝ่ายสตรี ซึ่งจะประกอบขึ้นเป็น
           พระเมรุมาศและปริมณฑลโดยยึดคติโบราณที่สืบทอด
           กันมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา
           นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานคติการสร้างพระเมรุมาศ
           หรือพระเมรุว่า ได้ชื่อมาจากการปลูกสร้างปราสาทอัน
           สูงใหญ่ท่ามกลางปราสาทน้อยที่สร้างขึ้นตามมุมทิศ
           มีโขลนทวาร (โคปุระ) ชักระเบียงเชื่อมถึงกัน ปักราชวัติ
           เป็นชั้น ๆ ลักษณะเหมือนเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางมีเขา
           สัตตบริภัณฑ์ล้อม จึงเรียกเลียนชื่อว่า “พระเมรุ” ภายหลังท�า
           ย่อลง แม้ไม่มีอะไรล้อม เหลือแค่ยอดแหลม ๆ ก็ยังคงเรียก
           เมรุด้วย
               แผนผังพระเมรุมาศเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พระ
           เมรุมาศอยู่กลาง แวดล้อมด้วยอาคารรายรอบเป็น
           ปริมณฑล ประดุจโบสถ์หรือวิหารซึ่งมีระเบียงล้อมรอบ
           คือ ทับเกษตร เป็นที่พัก ซ่างหรือส�าส้าง คือมุมคด
           ของทับเกษตร ทั้ง ๔ มุม เป็นที่พระสวดพระอภิธรรม
           ตรงข้ามพระเมรุมาศจะเป็นพระที่นั่งทรงธรรมส�าหรับ
           พระมหากษัตริย์ประทับในการถวายพระเพลิง บริเวณองค์



           70
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76