Page 89 - คู่มือสื่อมวลชนงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
P. 89
มาครองวัดนี้ขณะทรงผนวชอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส
ปัจจุบัน) เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงปรับปรุงวางหลักเกณฑ์ความ
ประพฤติปฏิบัติพระสงฆ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย
โดยมีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์เป็นอันมาก
ในคราวที่พระองค์เสด็จมาครองวัดก็ได้น�าการประพฤติ
ปฏิบัตินั้นมาใช้ในการปกครองพระสงฆ์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ด้วย ซึ่งในครั้งเดิมเรียกพระสงฆ์คณะนี้ว่า “บวรนิเวศาทิคณะ”
อันเป็นชื่อส�านักวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาจึงได้ชื่อว่า “คณะธรรม
ยุติกนิกาย” ซึ่งแปลว่าคณะสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
จึงถือว่าวัดบวรนิเวศวิหารเป็นส�านักเอกเทศแห่งคณะสงฆ์
ธรรมยุติกนิกายเป็นวัดแรก
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชด�าริว่าวัดรังษีสุทธาวาสซึ่งอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศ
วิหารนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่า
คณะรังษี และหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ
พระบรมราชสรีรางคารมาบรรจุไว้ ณ ใต้บัลลังก์พระพุทธชินสีห์
ในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๘
วัดบวรนิเวศวิหาร นับเป็นพระอารามที่มีความ
ส�าคัญทั้งในทางคณะสงฆ์และในทางบ้านเมือง กล่าวคือ
ในทางคณะสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นจุดก�าเนิดของ
88