Page 21 - หลักสูตรอธิษฐานจิตพิชิตความสำเร็จ โดยอาจารย์วิเชียร อยู่เกตุ
P. 21

2. อภิญญา 6 คือ อภิญญาในคําวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้ มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ
1 อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดําดินได้
2 ทิพพโสต มีหูทิพย์
3 เจโตปริยญาณ กําหนดรู้ใจผู้อื่นได้
4 ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5 ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
6 อาสวักขยญาณ รู้การทําอาสวะให้สิ้นไป
อภิญญา 5 ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ) ข้อ 6 มีเฉพาะในพระอริยบุคคล
หากไม่ยึดติดโลกิยะฌานเหล่านี้ก็ สามารถเจริญวิปัสสนาขั้นต่อไปได้จะได้อภิญญาอีก ประการหนึ่ง คือ อาสวักขยญาณอภิญญาเป็นอภิญญา 6 ที่สามารถทําลายกิเลสแบบราบคาบที่สุด ไม่เหลือแม้แต่น้อยรวมอภิญญาทั้ง 6 ก็มีเท่านี้
ส่วนรายละเอียดการฝึกเจริญ กสินเพื่อให้สําเร็จอภิญญาหาอ่านและศึกษาได้จากคู่มือการฝึก จิตเจโต เขียนเมื่อปี 2518 ปัจจุบันคงมีเหลือต้นฉบับอยู่บ้างแต่คงเป็นส่วนน้อยมาก ในที่นี้จะนําเรื่อง ฤทธิ์มากล่าวเสริมภูมิปัญญาของจิตให้ท่านได้ลองสัมผัสและนําไปฝึกจนเกิดความชํานาญในการใช้ อภิญญาสืบต่อไป
29. วิปัสสนาญาณ
บางท่านสามารถกระทําจิตให้ถึงญาณโสฬสทัศนา (ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ คือ ความหยั่ง
รู้ในที่นี้หมายถึง ญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลําดับตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด
1. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกําหนดจําแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและ
นามธรรม และกําหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม
2. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกําหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้ง
หลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนว กฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ดี เป็นต้น
3. สัมมสนญาณ (ญาณกําหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน
4-12. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 ดู [311]
21


































































































   19   20   21   22   23