Page 19 - อธิษฐานจิตพิชิตความสำเร็จ
P. 19

26. อรูปกัมมัฏฐาน 4 ในการเมื่อกําหนดจิตแล้วให้นํามือทั้งสองเข้ามาประสานมือในท่านั่งสมาธิเหมือนเดิม แล้ว
กําหนดลมปราณเข้าออกอย่างละเอียด พร้อมกับการถอนอาการใจออกจากสมาธิ เปลี่ยนองค์ภาวนา ใหม่ เพื่อให้จิตเข้าสู่อารมณ์ของ อรูปกัมมัฏฐาน 4 คือ
1. อากาสานัญจายตนะ อากาศไม่มีที่สิ้นสุดฉันใดจิตย่อมไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น
2. วิญญาณัญจายตนะ วิญญาณไม่มีสิ้นสุดฉันใด จิตย่อมไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น
3. อากิญจัญญายตนะ ความว่างเปล่าย่อมไม่มีที่สิ้นสุดฉันใด จิตย่อมปรารถนาได้ทุกที่ฉันนั้น 4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ สัญญาต่างๆ ว่าจะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ จิต ย่อม
ไม่มีสัญญากับอะไรทั้งนั้น
องค์ภาวนาที่ใช้ในการฝึกสมาธิในขั้นนี้ ย่อมมีความยาก ความลําบาก และละเอียดมาก ต้อง
ตั้งใจฝึกให้ดี
การกําหนดองค์ภาวนาให้เป็น อรูปกัมมัฏฐาน เพื่อปรับเปลี่ยนฌาน ให้เป็นญาณ จิตของเราก็
จะอํานาจและมีสภาวะแก่กล้า สามารถกําหนดให้เข้าสู่ภูมิ สู่ภพ และเข้าสู่ทุกสภาวะ ทุกหนทุกแห่ง ทั้งยมโลก เทวโลก พรหมโลกและมนุษย์ภูมิ รวมถึงทุกเรื่องที่เราใช้จิตกําหนดให้เป็นไปตามมโนมยิธิ เพราะว่าอํานาจแห่งจิตนั้นยิ่งใหญ่นัก มีอานุภาพมากนัก เมื่อฌานบังเกิดในจิตแล้ว และสามารถ ดําเนินไปด้วยญาณแล้ว เมื่อนั้นจะก่อให้เกิดพลังงานทางจิตอย่างมากมาย
27. ตัดสัญญากรรม
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ จะเกิดปฏิภาคนิมิตบ่อยครั้งให้เชื่อสัญญาณจิต และ ให้หมั่นดับสัญญา กรรมไปทีละดวง ทีละดวง ด้วยอรูปกัมมัฏฐาน 4 ขั้นสุดท้าย คือ เนวะสัญญา นา สัญญา ยตนะ
การตัดสัญญากรรมต่างๆ ให้กล่าวคําว่า “เนวะสัญญา นา สัญญา ยตะนะ” เช่น ระลึกได้ว่า เคยตีสุนัขจนขาเจ็บ ให้ภาวนาในใจ ข้าพเจ้าชื่อ .................. นามสกุล ........... ขอตัดสัญญากรรม กับสุนัขตัวนี้ ด้วย “เนวะสัญญา นา สัญญา ยตะนะ” โดยใช้อํานาจแห่งสมาธิ เพื่อช่วยในการลด กรรมที่เคยกระทํามาให้ลดน้อยลง
การตัดสัญญาจะช่วยให้การปฏิบัติธรรมบรรลุได้ง่ายและไม่มีสิ่งกีดขวางในขณะทะที่ปฏิบัติ การตัดสัญญาในอรูปกัมมัฏฐานนี้สามารถกระทําได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถกระทําได้บ่อยๆ จน เกิดสภาวะจิตที่สงบแล้วจึงฝึกอบรมจิตขั้นสูงต่อไป
19


































































































   17   18   19   20   21