Page 20 - อธิษฐานจิตพิชิตความสำเร็จ
P. 20
28. อภิญญา 6
ทําอาสวักกิเลสให้สิ้นในขันธสันดาน และยกจิตขึ้นเป็นลาภีบุคคล เมื่อกําหนดและชํานาญในการเข้าและออกวสีแล้ว ฌาน 4 แล้ว ได้อรูปกัมมัฏฐาน 4 แล้ว
เมื่อนั้นฌานลาภีซึ่งมีในบุคคลธรรมดาก็จะปรากฏให้เห็นและสามารถนํามาใช้ได้ทุกเวลา และทุก สถานที่ รวมถึงการละสังขารก่อนตายก็สามารถใช้ได้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วก็สามารถนําไปใช้ในโลก หน้าสืบต่อไปเมื่อท่านทั้งหลายพัฒนาจิตของท่านมาถึงขั้นนี้แล้ว ท่านก็สามารถผ่านฌาน 4 ซึ่งได้ อธิบายแล้ว เมื่อท่านเจริญทางจิตของท่านมาถึงจุดนี้ ท่านก็แสวงหาโมกข์ธรรมที่เป็นอภิญญาสืบต่อ ไป
ในบรรดากัมมัฏฐานทั้งหลายการเจริญกสิณ 10 เท่านั้นที่จะได้อภิญญา ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุ 2 เหตุ คือ
1. สมาธิในรูปปัญจมฌานที่เกิดจากการเจริญกสิณ 10 มีกําลังแรงกล้ายิ่งกว่ากัมมัฏฐาน 16 อย่างที่เหลือ
2. ตามธรรมดาผู้ที่จะได้อภิญญานั้นต้องได้สมาบัติ 9 คือ รูปฌานและอรูปฌาน เว้นแต่ผู้มี บารมีเป็นพิเศษเท่านั้นฉะนั้น รูปปัญจมฌานลาภีบุคคลที่จะเจริญอรูปฌานต้องทําการเพ่งปฏิภาค นิมิตที่ได้จาก กสิณ 9 (ยกเว้นอากาศกสิณ) โดยบริกรรมว่า อากาโส ๆ อากาโส ๆ อรูปฌานขั้นที่ 1 จึง จะเกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุ 2 ประการนี้แหละ การเจริญกสิณ 10 เท่านั้น จึงจะได้อภิญญา ระดับของอภิญญาในพระพุทธศาสนา
ผู้ที่ได้สมาบัติ 9 แต่อภิญญามี 2 พวกคือ 1. ปุถุชนลาภี
2. อริยบุคคล ในสองจําพวกนี้ผู้เคยได้อภิญญาในชาติก่อนที่ใกล้กับภพนี้ เมื่อเจริญกสิณอย่าง ใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ต้องได้อรูปฌาน 4 ได้แต่เพียงรูปฌาน 5 อภิญญาก็เกิดได้ เช่น ดาบส 24,000 รูป ศิษย์ของพระสุรุจดาบสสุดท้ายได้เป็น พระสารีบุตร เมื่อท่านเหล่านั้นเจริญกสิณสําเร็จรูปฌาน 5 ก็ สําเร็จด้วยอภิญญาด้วย เพราะเคยได้อภิญญาในภพก่อนที่ใกล้กับภพนี้
อภิญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. มัคคสิทธิอภิญญา หมายถึง อภิญญาที่สําเร็จพร้อมด้วยมรรคเป็นลักษณะของพระอริยะ บุคคลที่บรรลุมรรคผลแต่ไม่มีอภิญญา แต่ปัญญาที่ประกอบกับมรรคจิตนั้นมีอํานาจเพียงพอ เกี่ยวกับ อภิญญาเวลาใดเวลานั้นก็สามารถใช้ได้ รูปปัญจมฌานที่มีอภิญญาก็เกิดตามกันไป ความประสงค์ที่ อธิษฐานจิตไว้สําเร็จพร้อมกันไปมี 2 อย่าง คือ
เหฏฐิมมัคคสิทธิอภิญญา อภิญญาที่สําเร็จพร้อมด้วยมรรคเบื้องต่ํา 3 อรหัตตมัคคสิทธิอภิญญา อภิญญาที่สําเร็จพร้อมด้วยอรหัตตมรรค
20