Page 29 - 5ภาษาไทย พท11001.indd
P. 29

26

                                  นอกจากการเขียนเพื่อติดตอสื่อสารโดยการเขียนจดหมาย การเขียนประกาศ

                    แถลงการณแลว ผูเรียนควรจะเรียนรูวิธีการจดบันทึก

                                  การจดบันทึก หมายถึง การจดขอความ เรื่องราว เหตุการณ เพื่อชวยความทรงจํา

                    หรือเพื่อเปนหลักฐาน

                                  การจดบันทึก นับวาเปนทักษะในการเรียนที่สําคัญและจําเปนมากสําหรับการเรียน

                    ดวยตนเอง เพราะในแตละภาคการเรียน ผูเรียนจะตองเรียนหลายวิชา ซึ่งมีเนื้อหาสารหลากหลาย
                    จํานวนมาก หากไมมีเทคนิค หรือเครื่องมือชวยในการจําที่ดีจะทําใหเกิดความสับสน และเมื่อตอง


                    มีการทบทวนกอนสอบ บันทึกยอที่ทําไวจะเปนประโยชนอยางยิ่ง
                                  การจดบันทึก แบงออกเปน 3 ประเภท คือ

                                  1. การจดบันทึกจากการฟง

                                  2. การจดบันทึกจากการอาน

                                  3. การทําบันทึกยอจากบันทึกการฟงและบันทึกการอาน


                                  1. การจดบันทึกจากการฟง
                                         กอนจะบันทึกแตละครั้งควรจดหัวขอที่จะบรรยาย ชื่อผูบรรยาย ผูสอน


                    วิทยากร วัน เดือน ป ทุกครั้ง ในระหวางที่ฟงคําบรรยาย อาจจะจดไมทันทุกคําพูด ผูจดบันทึก
                    อาจจะตองใชคํายอ สัญลักษณที่จดจําไดงาย และสิ่งสําคัญหากจดบันทึกไมทันไมควรหยุดจด

                    ใหสอบถามเพื่อน ๆ และจดตอไปจนจบการบรรยาย จากนั้นใหทบทวนสิ่งที่จดบันทึกไวทันที

                    เพื่อชวยใหไมลืมหรือลืมนอยลง


                                  2. การจดบันทึกจากการอาน


                                         กอนจดบันทึกผูเรียนจะตองอานขอความ เรื่องราว ที่จะจดบันทึกและจับ
                    ใจความสําคัญของเรื่องใหไดวาวัตถุประสงคของขอเขียนนั้นคืออะไร มีคติหรือขอคิดที่ผูอานสนใจ

                    ก็ใหจดบันทึกไว นอกจากนั้นจะตองมีการเขียนอางอิงวาเอกสารหนังสือที่บันทึกชื่อหนังสืออะไร

                    ใครเปนผูแตง แตงเมื่อใด

                                  3. การทําบันทึกยอจากบันทึกการฟงและบันทึกการอาน คือ การสรุป

                    สาระสําคัญของบันทึกคําบรรยาย บันทึกจากการอาน เนื้อหาจึงสั้น กะทัดรัดมีใจความสําคัญ

                    ครบถวน อานงาย บันทึกยอ เปนสิ่งที่ผูเรียนควรจะทําเปนอยางยิ่ง ผูเรียนจะไดประโยชนจากการ

                    บันทึกยอดังตอไปนี้

                                         1. ฝกทักษะในการจับประเด็นสําคัญ

                                         2. สะดวกในการใชเมื่อมีเวลาจํากัด เชน อานทบทวนกอนสอบ


                                                                              ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา  :  พท11001   29
                                                                                         ส�ำนักงำน กศน.จังหวัดกำฬสินธุ์
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34