Page 29 - ทร02006
P. 29

21



                  ตอนที่ 3.2  การวางแผนทําโครงงานและขั้นตอนกระบวนการทําโครงงาน

                         การทําโครงงานมีขั้นตอนกระบวนการ ดังนี้
                         1) การคิดและการเลือกหัวเรื่อง ผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกหัวเรื่องของโครงงานด้วยตนเองว่าอยากจะ

                  ศึกษาอะไร ทําไมจึงอยากศึกษา หัวเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา คําถามหรือความ อยากรู้ อยาก
                  เห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของผู้เรียนเอง หัวเรื่องของโครงงานควรเฉพาะเจาะจงและชัดเจน เมื่อใครได้อ่านชื่อ

                  เรื่องแล้ว ควรเข้าใจและรู้เรื่องว่าโครงงานนี้ทําจากอะไร และควรคํานึงถึงประเด็นความเหมาะสมของระดับ

                  ความรู้ ความสามารถของผู้เรียน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ งบประมาณ ระยะเวลา ความปลอดภัยและแหล่งความรู้
                  เป็นต้น

                         2) การวางแผนการทําโครงงาน จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ซึ่งต้องมีแนวคิดที่กําหนดไว้

                  ล่วงหน้า เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ไม่สับสน แล้วนําเสนอต่อครูประจํากลุ่มหรือ
                  ครูที่ปรึกษา เพื่อขอความเห็นชอบก่อนดําเนินการขั้นต่อไป การเขียนเค้าโครงของโครงงานโดยทั่วไป

                  เขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และขั้นตอนการทําโครงงาน ซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
                                2.1)  ชื่อโครงงาน : เป็นชื่อเรื่องที่ผู้เรียนจะทําการศึกษาค้นคว้า เพื่อหาคําตอบหรือหา

                  แนวทางในการแก้ปัญหา การตั้งชื่อเรื่อง ควรสื่อความหมายให้ได้ว่าเป็นโครงงานที่จะทําอะไร เพื่อใคร /อะไร

                  ควรเป็นข้อความที่กะทัดรัดชัดเจนสื่อความหมายได้ตรง
                                2.2) ชื่อผู้ทําโครงงาน : เป็นการระบุชื่อของผู้ทําโครงงาน ถ้าเป็นโครงงานกลุ่มให้ระบุชื่อผู้ทํา

                  โครงงานทุกคน พร้อมเขียนรายละเอียดงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการทําโครงงานของแต่ละคนให้
                  ชัดเจน

                                2.3) ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน : เป็นการระบุชื่อผู้ที่ให้คําปรึกษา ให้คําแนะนําในการทําโครงงาน

                  ของผู้เรียน
                                2.4) หลักการและเหตุผลของโครงงาน : เป็นการอธิบายว่า เหตุใดจึงเลือกทําโครงงานเรื่องนี้

                  มีความสําคัญอย่างไร มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทําเป็นเรื่องใหม่ หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้า

                  เรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลอย่างไร เรื่องที่ทําได้ขยายผลเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทําไว้อย่างไร หรือ
                  เป็นการทําซ้ําเพื่อตรวจสอบผล

                                2.5)  จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ : ควรมีความเฉพาะเจาะจงและสามารถวัดได้ เป็นการ

                  บอกขอบเขตของงานที่จะทําให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์มักเขียนว่าศึกษา. . . . . . . . . . . . . .
                  . . . . . เพื่อเปรียบเทียบ. . . . . . . . . . . . เพื่อผลิต. . . . . . . . . . . . . . เพื่อทดลอง. . . . . . . . . หรือ

                  เพื่อสํารวจ. . . . . . . . . . . . . . . . . ซึ่งจุดประสงค์ของโครงงานที่จะบ่งบอกว่าเป็นโครงงานประเภทใด (ตาม
                  เนื้อหาบทที่ 2) และจุดมุ่งหมายของโครงงานจะเป็นทิศทางในการกําหนดวิธีการดําเนินโครงการ

                                2.6) สมมติฐานในการทําโครงงาน (ถ้ามี) : สมมติฐานเป็นคําตอบหรือคําอธิบายที่คาดไว้
                  ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุมีผลมีทฤษฎีหรือหลักการรองรับ และที่สําคัญ

                  คือ เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางในการดําเนินการทดสอบได้ โครงงานวิจัยที่กําหนดสมมุติฐานควรเป็น

                  โครงงานประเภททดลอง ซึ่งมักจะต้องกําหนดตัวแปรในกระบวนการทดลอง นอกจากนี้ควรมี ความสัมพันธ์
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34