Page 27 - วิชาทักษะการเรียนรู้ประถมศึกษา
P. 27

17


                  เรื่องที่  2  ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้



                         นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยมีแหล่งเรียนรู้ได้แก่ บ้าน วัด และวัง ผู้ถ่ายทอดความรู้ในบ้านมีพ่อ แม่ และ

                  ผู้ใหญ่ในบ้าน ในวัดจะมีพระ และในวังจะมีผู้รู้ นักปราชญ์ ราชบัณฑิตในด้านต่าง ๆ
                         สมัยพ่อขุนรามค าแหง ได้ทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาไว้ในดงตาลเพื่อให้เป็นสถานที่สอน

                  หนังสือและธรรมะแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไป เป็นที่นัดพบระหว่างผู้รู้และผู้ใฝ่รู้ เป็นการจัด

                  สิ่งแวดล้อมในลักษณะชุมชนแห่งการเรียนรู้โดยมีสื่อความรู้ที่ใช้กันได้แก่ ใบลาน สมุดไทยและหลักศิลา

                  จารึก
                         สมัยกรุงศรีอยุธยา แหล่งความรู้ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว นอกจากมีบ้านและวัดและวังแล้ว ในสมัย

                  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการสร้างโบสถ์ฝรั่งหลายแห่ง มีการตั้งโรงเรียนมิชชันนารี มีการตั้ง

                  โรงเรียนสอนสามเณร ในการเรียนรู้ นอกจากมีครูเป็นผู้สอนแล้ว ยังมีการเล่านิทานและวรรณกรรมเป็น
                  สื่อในการเรียนรู้อย่างแพร่หลาย

                         สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แหล่งความรู้ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้นมาหลาย

                  แห่ง มีการพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย มีการตั้งโรงทาน มีพระธรรมเทศนาพร้อมกับสอน
                  หนังสือวิชาการต่าง ๆ แก่ประชาชนทั้งหลาย มีการพัฒนาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ให้เป็น

                  มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทยโดยการจารึกวิชาหนังสือ วิชาแพทย์ วิชาต่าง ๆ ดาราศาสตร์

                  และวิชาทั่วไปลงบนแผ่นศิลา ประดับไว้ตามก าแพงและบริเวณวัด มีทั้งภาพเขียน รูปปั้นและพืช
                  สมุนไพรต่าง ๆ ประกอบค าอธิบาย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาด้วยตนเอง

                         สมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มี

                  การปฏิรูปการจัดการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่ แหล่งความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบอัธยาศัยหรือ

                  แบบไม่เป็นทางการนั้น ไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ที่จะปรับตัวรับกับระบบจักรวรรดินิยมตะวันตก จึงมี
                  การจัดตั้งโรงเรียนแบบตะวันตกขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีบทบาทหลักใน

                  การให้การศึกษาแก่คนไทย ส่วนแหล่งความรู้ประเภทสื่อได้มีการพัฒนาหนังสือแบบเรียน หนังสือพิมพ์

                  รายวันจ านวนเกือบ 30 ฉบับ มีหนังสือนิตยสาร วารสารต่าง ๆ มีภาพยนตร์ และมีห้องสมุด นอกจากนี้ยัง
                  มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเผยแพร่ความรู้อีกด้วย แหล่งความรู้เหล่านี้ได้รับการพัฒนาเรื่อย ๆ

                         ปัจจุบันมีสื่อหลากหลายประเภทมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์

                  โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นแหล่งความรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ได้ทั่วโลก เพราะมีการ

                  พัฒนาระบบดาวเทียม มีการพัฒนาระบบโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง วีดิทัศน์ ซีดี ต่าง ๆ อย่างที่ปรากฏใน
                  ปัจจุบัน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32