Page 40 - 2. หนังสือเรียนม .ต้น 21001
P. 40

31



                  เรื่องที่ 3  ทักษะพื้นฐานทางการศึกษาหาความรู้ ทักษะการแก้ปัญหา


                                 และเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง


                         ค าถามธรรมดา ๆ ที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันอยู่บ่อย ๆ ก็คือ ท าอย่างไรเราจึงจะสามารถฟังอย่างรู้เรื่อง
                  และคิดได้อย่างปราดเปรื่อง อ่านได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนเขียนได้อย่างมืออาชีพ ทั้งนี้  ก็เพราะเราเข้าใจ

                  กันดีว่า ทั้งหมดนี้เป็นทักษะพื้นฐาน (basic  skills) ที่ส าคัญ และเป็นความสามารถ (competencies) ที่

                  จ าเป็นส าหรับการด ารงชีวิตทั้งในโลกแห่งการท างาน และในโลกแห่งการเรียนรู้

                         การฟัง เป็นการรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน เป็นการรับสารทางหู  การได้ยินเป็นการเริ่มต้น
                  ของการฟังและเป็นเพียงการกระทบกันของเสียงกับประสาทตามปกติ  จึงเป็นการใช้ความสามารถทาง

                  ร่างกายโดยตรง   ส่วนการฟังเป็นกระบวนการท างานของสมองอีกหลายขั้นตอนต่อเนื่องจากการได้ยิน

                  เป็นความสามารถที่จะได้รับรู้สิ่งที่ได้ยิน  ตีความและจับความสิ่งที่รับรู้นั้นเข้าใจและจดจ าไว้ ซึ่งเป็น

                  ความสามารถทางสติปัญญา


                         การพูด เป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไป  ผู้พูดสามารถใช้ทั้งวจนะภาษาและ

                  อวัจนะภาษาในการส่งสารติดต่อไปยังผู้ฟังได้ชัดเจนและรวดเร็วการพูด หมายถึง การสื่อความหมายของ
                  มนุษย์โดยการใช้เสียง และกิริยาท่าทางเป็นเครื่องถ่ายทอดความรู้ความคิด และความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่

                  ผู้ฟัง



                         การอ่าน เป็นพฤติกรรมการรับสารที่ส าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการฟัง  ปัจจุบันมีผู้รู้นักวิชาการ
                  และนักเขียนน าเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและงานสร้างสรรค์ ตีพิมพ์ ในหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาก

                  นอกจากนี้แล้วข่าวสารส าคัญ ๆ หลังจากน าเสนอด้วยการพูด หรืออ่านให้ฟังผ่านสื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะ

                  ตีพิมพ์รักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ๆ ความสามารถในการอ่านจึงส าคัญและจ าเป็นยิ่งต่อการ
                  เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมปัจจุบัน

                         การเขียน เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์

                  คือ ตัวอักษร  เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจจากความข้างต้น  ท าให้มองเห็นความหมายของการเขียน

                  ว่ามีความจ าเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจ าวัน  เช่น นักเรียนใช้การเขียนบันทึกความรู้ ท า
                  แบบฝึกหัด และตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ท าสัญญา พินัยกรรมและค ้าประกัน เป็น

                  ต้น พ่อค้าใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ท าบัญชี  ใบสั่งของ ท าใบเสร็จรับเงิน แพทย์ใช้บันทึก ประวัติ

                  คนไข้ เขียนใบสั่งยาและอื่น ๆ เป็นต้น
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45