Page 50 - cover-biology-boontieam new28-8 i_coateduv
P. 50

บทเรียนจากการสอบ

                    การสอบเข้าโรงเรียนศุลกากรในครั้งนั้น  ข้อสอบเป็นแบบปรนัยจำนวน
            200  ข้อ  ถ้าตอบถูกจะได้คะแนนข้อละ  1  คะแนน  หากตอบผิดจะถูกหักคะแนน
            ข้อละ  0.25  คะแนน  ตอนที่ไปดูประกาศผลสอบไปพร้อมกับน้องชายคือ
            นายวิบูลย์  โชควิวัฒน  ที่ไปสอบด้วยกัน  ปรากฏว่าน้องชายมีชื่อขึ้นบัญชีเป็น

            ผู้สอบได้ในลำดับที่  28  ซึ่งถือว่าเป็นลำดับสอบได้ที่ดีมาก  ส่วนตัวผมได้ขึ้นบัญชี
            ลำดับที่  107  ซึ่งห่างกันมาก  ก็แปลกใจว่าทำไมลำดับที่สอบได้จึงห่างกันมาก
            ทั้ง ๆ ที่ดูหนังสือมาด้วยกัน  และหลังจากสอบเสร็จแล้ว  ได้คุยกันก็เห็นว่าตอบ
            ข้อสอบในข้อที่ทำได้และคิดว่าตอบถูกพอกัน  แต่ผลที่ออกมาลำดับที่สอบได้

            กลับห่างกันถึง  79  ลำดับ  เลยถามน้องชายว่าใช้เทคนิคหรือวิธีการในการตอบ
            ข้อสอบอย่างไร  น้องชายบอกว่าใช้วิธีทำข้อสอบในข้อที่ตอบได้และคิดว่าตอบถูก
            ก่อน  เมื่อนับข้อที่แน่ใจว่าตอบถูกได้เกินครึ่งหนึ่ง  คือไม่ตกแน่ ๆ แล้ว  ข้อที่เหลือ
            ที่ไม่แน่ใจในคำตอบที่ถูกต้องก็ไม่ตอบ  เพื่อป้องกันมิให้ถูกหักคะแนนหากเดา

            คำตอบผิด  ส่วนตัวผมข้อที่ตอบถูกก็คงจะทำคะแนนได้ใกล้เคียงกับน้องชาย  แต่
            ในข้อที่ไม่แน่ใจในคำตอบที่ถูกต้อง  โดยเฉพาะข้อสอบที่เป็นวิชาภาษาอังกฤษ
            ได้ตัดสินใจเลือกคำตอบโดยวิธีการเดาไปทั้งหมดในทุกข้อที่เหลืออยู่  ซึ่งคงจะ
            เดาผิดเป็นส่วนใหญ่  จึงถูกหักคะแนนไปบางส่วนข้อละ  0.25  คะแนน  เดาผิด

            ไปหลายข้อก็ถูกหักคะแนนไปหลายคะแนน  ทำให้เมื่อนำผลคะแนนการสอบ
            ภาควิชาการไปรวมกับคะแนนทดสอบว่ายน้ำและคะแนนสอบสัมภาษณ์แล้ว
            ลำดับที่สอบได้จึงไปอยู่ไกลถึงลำดับที่  107  นั่นเป็นเพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาด
            อันเนื่องมาจากการขาดประสบการณ์ในการทำข้อสอบแบบที่มีการติดลบอย่างนี้

            เพราะถ้าหากไม่เดาสุ่มทั้งที่ไม่แน่ใจในคำตอบที่ถูกต้องจนเป็นเหตุให้ถูกหักคะแนน
            แล้ว  ลำดับที่สอบได้อาจจะอยู่ในลำดับ  100  คนแรกก็เป็นได้  และคงไม่ต้อง                        อาคารโรงเรียนศุลกากร  เป็นอาคาร  3  ชั้น  สร้างเมื่อ   ภายในรั้วโรงเรียนศุลกากร
            เสียเวลาคอยลุ้นเข้าเรียนในโรงเรียนศุลกากรแบบใจหายใจคว่ำดังที่ได้เล่ามาแล้ว                     ปี พ.ศ. 2512  และเปิดให้ใช้เรียนในปี พ.ศ. 2513
            จึงถือได้ว่าบทเรียนจากการทำข้อสอบในครั้งนั้น  ทำให้รู้จักคิดถึงผลได้ผลเสีย

            จากการตัดสินใจด้วยความรอบคอบและระมัดระวังทั้งในการสอบและการทำงาน                                    ยังมีนักเรียนโควตาพิเศษจาก  4  จังหวัดชายแดนภาคใต้  คือ  จังหวัดปัตตานี
            มากขึ้น                                                                                             ยะลา  นราธิวาส  และสตูล  ที่เป็นมุสลิมและพูดภาษามลายู  (ภาษายาวี)  ได้
                                                                                                                ที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้คัดเลือกให้เข้าเรียนจังหวัดละ  1  คน  รวม  4  คน
                    ชีวิตนักเรียนศุลกากรและประวัติของโรงเรียน                                                   นักเรียนศุลกากรรุ่นนี้จึงมีผู้เข้าเรียนจำนวน  104  คน  และเป็นรุ่นที่กลับมาใช้

                    ตอนเข้าเรียนที่โรงเรียนศุลกากร  ในปี พ.ศ. 2520 - 2521  ทางโรงเรียน                          ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนศุลกากร” อีกครั้งหนึ่ง  เพราะเดิมทีในปี พ.ศ. 2448
            แบ่งนักเรียนออกเป็น  2  ห้อง  คือห้อง ก. และห้อง ข.  โดยตัวผมเองที่มารายงานตัว                      กรมศุลกากรเคยมีโรงเรียนศุลกากรเปิดสอนมาแล้ว  1  รุ่น  หลักสูตรการศึกษา
            ทีหลังได้อยู่ห้อง ข.  ซึ่งนอกจากนักเรียนที่ผ่านการสอบแข่งขันเข้ามาเรียนแล้ว                         2  ปี  มีนักเรียนจำนวน  30  คน  แล้วก็ยุบเลิกไป  ต่อมาในปี พ.ศ. 2483  ได้มีการ



            48                                                                                                                                                                      49
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55