Page 22 - ปกเล่มบทพากย์pdf
P. 22

3.3.2 การให้อำนาจกับใครควรไตร่ตรองให้ดี กล่าวคือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม

               ได้ประทานพรและศรวิเศษแก่อินทรชิต แต่อินทรชิตกลับนำไปใช้เพื่อการสงครามทำลายล้าง   จนก่อให้เกิด
               ความสูญเสีย เพราะอินทรชิตเป็นคนเหิมเกริม ไม่มีสติในการดำเนินชีวิต หากพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพิจารณา

               ลักษณะนิสัยของอินทรชิตให้ดีก่อน อินทรชิตก็จะไม่สามารถทำความเดือดร้อนให้ใครได้


                       3.3.3 เมื่อมีอำนาจแล้วควรใช้ไปในทางที่ถูกต้อง เมื่ออินทรชิตได้รับพรและศรวิเศษจาก

               พระผู้เป็นเจ้าทั้งสามแล้วก็เกิดความเหิมเกริม นำศรวิเศษไปใช้ในทางที่ผิด เช่น นำไปรบกับพระอินทร์
               ในชีวิตประจำวันของเราก็เช่นกัน ถ้าเรามีความรู้ก็เปรียบเสมือนมีเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ แต่หาก

               นำไปใช้ในทางที่ผิดความรู้ก็จะกลายเป็นอาวุธร้ายทำลายทุกสิ่งให้พินาศ ดังนั้นศรวิเศษของอินทรชิต จึงเหมือน

               ความรู้ที่เป็นดาบสองคม ต้องรู้จักใช้ให้ถูกทาง


                       3.3.4 การใช้ชีวิตอย่างมีสติ บทพากย์เอราวัณเป็นเรื่องราวตอนที่อินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์
               เพื่อมาต่อสู้กับพระลักษณ์ ในที่สุดพระลักษณ์หลงกลถูกศรพรหมาศของอินทรชิต ทั้งนี้มาจากสาเหตุที่ว่า

               พระลักษณ์ไม่มีสติ หลงเพลินไปกับความงาม ที่อยู่เบื้องหน้า ทั้ง ๆ ที่สุครีพได้เตือนให้ระวังตัวแล้ว


                       3.3.5 สงครามคือความสูญเสีย บทพากย์เอราวัณได้นำเนื้อเรื่องมาจากรามเกียรติ์ซึ่งเป็นเรื่องราว

               การทำสงครามระหว่างมนุษย์และยักษ์ สงครามที่เกิดขึ้นได้นำความสูญเสียมาสู่กองทัพฝ่ายพระรามและ
               ฝ่ายทศกัณฐ์ เช่น พระลักษณ์ต้องศรพรหมมาศ อินทรชิตบาดเจ็บและสิ้นชีวิตในการรบ จะเห็นได้ว่าสงคราม

               ไม่ได้ทำให้ฝ่ายใดได้รับประโยชน์เลย ดังนั้นเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจึงไม่ควรใช้กำลังในการแก้ปัญหา
               ควรใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหามากกว่า (ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ วันเพ็ญ เหลืองอรุณ,2562,น.314 - 319)

































                                                                                                               20
   17   18   19   20   21   22   23   24   25