Page 20 - ปกเล่มบทพากย์pdf
P. 20
3.1.2 การใช้ภาพพจน์ บทพากย์เอราวัณ ปรากฏการใช้ภาพพจน์ในสองลักษณะ คือ การใช้ อติพจน์
และการใช้บุคลาธิษฐาน
1. การใช้อติพจน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การกล่าวเกินจริง ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะกวีต้องการจะ
หลอกลวงผู้อ่าน แต่ต้องการให้ผู้อ่านสัมผัสถึงความยิ่งใหญ่และอลังการของบทประพันธ์ ดังตัวอย่าง
" เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เลื่อนลั่นสนั่นใน
พิภพเพียงทำลาย "
บทประพันธ์นี้กวีใช้อติพจน์เปรียบเทียบเกินจริงเพื่อต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าเสียงโห่ร้องของไพร่พล
ในกองทัพดังมากขนาดไหน ซึ่งผู้อ่านก็ไม่จำเป็นต้องหาคำตอบ เพราะทราบอยู่แล้วว่าเสียงดังจนพิภพ
จะพังทลาย
2. การใช้บุคลาธิษฐาน คือ การสมมติให้สิ่งที่ไม่มีชีวิต มีอาการกิริยาประหนึ่งว่ามีชีวิต หรือสมมติให้
สัตว์ต่าง ๆ พูดได้ และมีความรู้สึกอย่างเดียวกับคนทั่วไป ดังตัวอย่าง
" สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย อ่อนเอียงเพียงปลาย
ประนอมประนมชมชัย "
จากตัวอย่างนี้ได้แสดงให้เห็นถึงอากัปกิริยาของภูเขาอันเป็นสิ่งไม่มีชีวิต แต่กำลังกระทำอาการแบบ
สิ่งมีชีวิต นั่นคือ น้อมยอดลงมาเพื่อประนมมอไหว้ (พระราม)
ื
3.1.3 การเล่นเสียง ก็คือการใช้สัมผัสนั่นเอง ซึ่งปรากฏว่ามีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร โดยจะ
ปรากฏในวรรคแรกเกือบทุกบท เช่น
" อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์
ทรงคชเอราวัณ "
จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่ามีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร วรรคที่ 1 สัมผัสสระได้แก่คำว่า ชิต-บิด
สัมผัสอักษร ได้แก่คำว่า บิด-เบือน วรรคที่สองมีสัมผัสอักษร คือ องค์-อมรินทร์ เป็นต้น
3.2 คุณค่าด้านความรู้
3.2.1 ความรู้เรื่องการพากย์โขน โขนใช้การพากย์เป็นการดำเนินเรื่อง คำพากย์เป็นบทประพันธ์
ประเภทกาพย์ คือ กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง ไม่ว่าจะพากย์ชนิดใด ๆ เมื่อพากย์จบกาพย์ยานีไปบทหนึ่ง ๆ
18