Page 16 - ปกเล่มบทพากย์pdf
P. 16

3.คุณค่า



                       กุสุมา รักษมณี กล่าวถึงคำพากย์เอราวัณในหนังสือแนวทางการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรม เล่ม 3
                                                                                           ิ
               ว่า เป็นคำพากย์ที่แต่งด้วยกาพย์ฉบัง 40 บท มีบท บรรยายที่ดำเนินเรื่องอย่างสังเขปตั้งแต่อนทรชิตแปลงกาย
               ไปจนถึงสังหารพระลักษณ์ จุดเด่นของเรื่องไม่ได้อยู่ที่เนื้อเรื่อง จึงไม่เน้นการดำเนินเรื่องราวและการเล่าเรื่อง
               แต่เน้นการแสดงลีลาเคลื่อนไหวของตัวละครและรายละเอียดต่าง ๆ ด้วยการ พรรณนา ดังจะเห็นได้จากบท

               พรรณนาภาพข้างเอราวัณ บทพรรณนากองทัพของอินทรชิต บทพรรณนาธรรมชาติเมื่อพระรามตื่นบรรทม

               และบทพรรณนารถทรงกับกองทัพของพระราม
                       บทพรรณนาต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ใช้ถ้อยคำสั้นๆ แต่ได้ใจความ เช่น การพรรณนาเศียรช้างเอราวัณด้วย

               กาพย์ฉบังเพียง 7 บท ก็สามารถสื่อให้เห็น ความยิ่งใหญ่โอฬารและความพิเศษของช้างทรงของเทพได้ ภาพ
               ของข้างเอราวัณ จำแลงนี้มีความสำคัญต่อเนื้อเรื่อง เพราะเมื่อพระลักษณ์เสด็จออกมารบกับ อินทรชิต พระ

               ลักษณ์ไม่ทันรู้กลศึก เมื่อเห็นความยิ่งใหญ่และความงดงามของ ช้างทรงและกระบวนทัพก็เข้าใจว่าเป็นพระ

               อินทร์เสด็จมา ครั้นอินทรชิตสั่งให้ บริวารจับระบำถวาย พระลักษณ์กเคลิบเคลิ้มวรกาย อินทรชิตจึงสบโอกาส
                                                                        ็
               สังหารพระลักษณ์ได้

                       บทพรรณนาในคำพากย์เอราวัณมีการใช้ภาพพจน์เพื่อแสดงความหมาย เปรียบเทียบแทนการกล่าว

               ตรงๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อจะกล่าวว่ากองทัพของพระราม ยิ่งใหญ่ เสียงให้ร้องเอาชัยดังกึกก้องมาก กวีก็ใช้
               ภาพพจน์เปรียบเกินจริง (อติพจน์) ว่า เสียงดังสนั่นราวกับโลกจะพินาศ ดังในคำประพันธ์บทนี้


                              “เสียงพลโห่ร้องเอาชัย               เลื่อนลั่นสนั่นไป

                              พิภพเพียงทําลาย”


                       กวีแสดงบุญญาธิการของพระรามว่า ความเกรียงไกรของกองทัพพระราม ทำให้ภูเขาทั้งหลายใน

                            ี
               จักรวาลอ่อนเอยง ในขณะเดียวกันกวีก็ได้ใช้ภาพพจน์ บุคคลวัตโดยการสมมติให้ภูเขาประหนึ่งเป็นคนที่พากัน
               น้อมศีรษะพนมมือไหว้ พระราม ดังในคำประพันธ์บทนี้



                              “สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย                     อ่อนเอียงเพียงปลาย
                              ประนอมประนมชมชัย”

                       (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2558,น.60 - 61)


               3.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์


                       3.1.1 การใช้โวหาร ความโดดเด่นทางวรรณศิลป์ของบทพากย์เอราวัณ ช่วยสร้างจินตนาการให้

               เกิดขึ้นแก่ผู้อ่าน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงใช้ถ้อยคำที่ช่วยสร้างภาพให้เกิดขึ้นใน
               จินตนาการอย่างแจ่มแจ้ง ดังเช่น บทพรรณนาช้างเอราวัณ ความว่า





                                                                                                               14
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21