Page 12 - ปกเล่มบทพากย์pdf
P. 12
ั
เมื่อครั้งพระรามเข้าใจผิดคิดว่านางสีดาแอบมีใจให้ทศกณฐ์ พระรามได้สั่งให้พระลักษณ์นำนางสีดาไป
ประหาร แต่พระลักษณ์ไม่กล้า นางสีดาก็สั่งให้พระลักษณ์ลงมือพระลักษณ์ก็สลบไป เมื่อพื้นขึ้นมาไม่เห็น
นางสีดา ก็กล่าวฝากนางไปกับเทวดา แล้วนำหัวใจของเนื้อไปถวายพระราม ครั้นพระรามออกเดินป่าอีกครั้ง
เพื่อสะเดาะห์เคราะห์ พระลักษณ์ก็ออกติดตามไปรับใช้เช่นเคย
3. สุครีพ
สุครีพเป็นพญาวานรโอรสของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา เป็นน้องชายแม่เดียวกันกับพาลี มีชายา
ชื่อนางดารา ซึ่งพระอิศวรประทานให้โดยฝากพาลีไป แต่นางตกเป็นของพาลีก่อน หลังจากพระรามสังหารพาลี
แล้ว ได้ตั้งให้สุครีพ เป็นเจ้าเมืองขีดขิน ต่อมาได้ร่วมทัพกับพระรามไปปราบทศกัณฐ์ โดยเป็นแม่กองในการจอง
ถนนไปกรุงลงกา ต่อมาพระรามให้สุครีพไปหักฉัตรของทศกัณฐ์ ครั้นรบกับกุมภกรรณ กุมภกรรณรู้ว่าสุครีพมี
พละกำลังมากจึงหลอกให้ไปถอนต้นรัง ทำให้กำลังของสุครีพลดลง จึงถูกกุมภกรรณจับตัวไป แต่หนุมานตาม
ไปช่วยเหลือไว้ได้ โดยมากแล้วสุครีพมักทำหน้าที่เป็นผู้จัดทัพเป็นรูปกระบวน ต่าง ๆ ตามหลักพิชัยสงคราม
ครั้นเสร็จศึกลงกาแล้ว สุครีพได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพญาไวยวงศามหาสุรเดช เจ้านครขีดขิน (ณัฐ
วุฒิ คล้ายสุวรรณ วันเพ็ญ เหลืองอรุณ,2562,น.309 – 314)
4. ช้างเอราวัณ
น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม กล่าวถึงไตรภูมิในหนังสือวรรณคดีสุโขทัยว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความคิดและ
การบันดาลใจให้กวีสมัยต่อมา น่าไปใช้สร้างสรรค์วรรณคดีไทยเรื่องต่าง ๆ เรื่องราวทั้งหลายที่กล่าวไว้ใน
ไตรภูมิดังเช่นเรื่อง นรก เปรต แท่นปัณฑุกัมพล และช้างเอราวัณของพระอินทร์ ต้นไม้สวรรค์ปาฤกชาต
์
กัลปพฤกษ เขาพระสุเมรุภูเขาสัตตปริภัณฑ์ แม่น้ำสีทันดร พระยาครุฑ ป่าหิมพานต์ ไม้นารีผล และกินรีเหล่านี้
มีแทรกอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เป็นต้นว่า เรื่องขุนช้างขุนแผน สมบัติอมรินทร์คำกลอน บทลำนำ
เห่กล่อมพระบรรทมเรื่องจับระบำ รามเกียรติ์ กากีคำกลอน สังข์ทอง และนิราศภูเขาทอง (น้อมนิจ วงศ์สุทธิ
ธรรม,2555,น.144 - 145)
น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม ยังกล่าวอีกว่า รามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2 กล่าวถึงช้างเอราวัณ ไว้ดังนี้
“อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์
ทรงคชเอราวัณ
ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ
สีสังข์สะอาดโอฬาร์
สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา
10