Page 100 - วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการ
P. 100
92
สําหรับก๊าซจะถูกอัดผ่าน ท่อรวมกับนํ้ามันดิบส่งไปยังสถานีแยกนํ้ามันดิบ
และก๊าซธรรมชาติชายฝั่ง ซึ่งทําหน้าที่แยกก๊าซเบา ออกจากนํ้ามันดิบและ
ส่งไปยังโรงกลั่นนํ้ามัน ส่วนก๊าซที่ได้จะถูกนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป
นํ้ามันดิบที่ได้ยังไม่สามารถนํามาใช้ได้โดยตรง ต้องนําเข้าสู่กระบวน
การกลันเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และเนื่องจากนํ้ามันดิบมีหลาย
ชนิด ก่อนนําไปกลั่นจึงทําการผสมนํ้ามันดิบแต่ละชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้
ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ต้นทุนการผลิตตํ่า โดยทั่วไปกระบวนการกลั่น
ประกอบด้วยกรรมวิธี ดังนี้
3.1 กำรแยก (Separation)
การแยก เป็นการแยกส่วนประกอบของนํ้ามันดิบด้วยวิธีการทาง
กายภาพโดยวิธีกลั่น ลําดับส่วน (Fractional Distillation) ซึ่งอาศัยความ
แตกต่างของจุดเดือดของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่เป็นองค์ประกอบ
ของนํ้ามันดิบทําให้สารแยกตัวออกมาที่อุณหภูมิต่าง ๆ ตามลําดับ ตั้งแต่
ก๊าซหุงต้ม นํ้ามันเบนซิน นํ้ามันก๊าด นํ้ามันดีเซล นํ้ามันเตา และยางมะ
ตอย โดยนํานํ้ามันดิบมากล้นในหอกสน บรรยากาศ ภายในหอกลั่นมีถาด
ที่มีรูพรุนวางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ผ่านกระบวนการให้ความร้อน นํ้ามันดิบ
จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปยังยอดหอ ซึ่งเป็นบริเวณที่เย็นที่สุด ส่วน
ที่เหลือของนํ้ามันดิบ ที่ไม่ระเหยเป็นไอในหอกลั่น จะยังคงเป็นของเหลว
อยู่ที่ก้นหอกลั่น ซึ่งเป็นบริเวณที่ร้อนที่สุด เรียกนํ้ามัน ส่วนนี้ว่า กากกลั่น
ไอร้อนที่ลอยขึ้น เมื่อเย็นลงจะกลั่นตัวเป็นของเหลวบนถาดตาม
ชั้นต่าง ๆ และจะอยู่ชั้นใด ย่อมขึ้นอยู่กับช่วงจุดเดือดของไฮโดรคาร์บอน