Page 97 - วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการ
P. 97

89


                    มีการนําปิโตรเลียมมาใช้ตั้งแต่ยุคโบราณ  โดยปิโตรเลียมที่นํามาใช้


               เป็นนํ้ามันดิบที่พุ่งขึ้นมาเอง  บนผิวดินหรืออาจขุดพบในหลุมตื้น  ๆ โดย


               ปิโตรเลียมถูกนํามาใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นวัสดุเชื่อม ประสานก้อน


               อิฐที่ใช้ก่อสร้าง ใช้ลาดถนน ใช้เป็นสารหล่อลื่น ใช้ดองศพกันเน่าก่อน


               นําไปเก็บในสุสาน ใช้ทํายาขี้ผึ้งรักษาโรค ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการต้มเกลือ


               สินเธาว์ เชื้อเพลิงให้แสงสว่างและประกอบอาหาร


                    ปิโตรเลียมถูกพบโดยบังเอิญ ในปี ค.ศ. 1848 โดยซามูเอล เอม เกียร์


               และเมื่อเกิดภาวะขาดแคลน  นํามันไขปลาวาฬ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่นิยมใช้


               ให้แสงสว่าง และหล่อลื่นในเครื่องยนต์ในสมัยนั้น ผู้คนจึง หันมาใช้


               ปิโตรเลียมแทนไขปลาวาฬ  จนกระทั่งมีการจัดตั้งบริษัทนํ้ามันชื่อ  ซีนีกา


               ออย จํากัด ทําการ เจาะสํารวจ หา และได้ขุดพบนํ้ามันในปี ค.ศ. 1859 ที่


               มลรัฐเพนซิลวาเนีย  มีนํ้ามันไหลออกมา  10 บาเรล ต่อวัน ทําให้“ยุคตื่น


               นํ้ามัน” เริ่มต้นขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกัน รัสเซียและโรมาเนียก็เริ่มผลิต


               ปิโตรเลียม ในเชิงพาณิชย์เช่นกัน  แต่ช่วงแรกการผลิตเพียงเพื่อนํา


               นํ้ามันก๊าดจากปิโตรเลียมมาใช้เติมตะเกียงและ  ผลิตนํ้ามันหล่อลื่น  ส่วน


               นํ้ามันเบนซินจะถูกเผาทิ้ง


                    เมื่อมีการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายใน  ช่วงปลายศตวรรษที่  18


               ทําให้มีการคิดค้นพลังงาน  ที่จะนํามาใช้กับเครื่องยนต์  จนกระทั่งมีการ


               ผลิตรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินขึ้น  และเครื่องยนต์เบนซิน  ได้ถูกดัดแปลง


               ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง  ๆ ทําให้ความต้องการใช้นํ้ามันเพิ่มสูงขึ้นอย่าง


               มาก กรรมวิธีการ กลั่นปิโตรเลียมถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณนํ้ามัน
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102