Page 51 - sittichok
P. 51
5. คําจํากัดความที่ใช้ในการวิจัย
5.1 เครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หมายถึง เครื่องที่ทําหน้าที่เบิกจ่าย
ลวดเชื่อมไฟฟ้าได้โดยการนําลวดเชื่อมไฟฟ้าที่ผ่านการเชื่อมที่มีความยาวที่ 35 ถึง 55
มม. นํามา ตรวจสอบความเป็นลวดเชื่อมไฟฟ้าพร้อมกับการนําบัตรรหัสที่ถูกบันทึก
โดยชุดควบคุมภายใน เครื่องจ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ในการบันทึกสามารถ
เก็บข้อมูลผู้เรียนได้ครั้งละ 60 คน ซึ่ง แต่ละคนสามารถเบิกจ่ายได้สูงสุดครั้งละ 999
เส้น แล้วแต่ผู้ควบคุมกําหนดให้แต่ละใบงานในการ ฝึกปฏิบัติเพื่อตรวจสอบความเป็น
ผู้เรียนที่เรียนวิชาเชื่อมไฟฟ้าเบื้องต้นเท่านั้น จากนั้นจึงจะทําการ จ่ายลวดเชื่อมไฟฟ้า
ให้โดยเบิกจ่ายครั้งละ 1 เส้น
5.2 บัตรรหัส หมายถึง บัตรที่แถบแม่เหล็กที่ถูกกําหนดโดยรายวิชาที่เข้าศึกษาวิชา
งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น รวมทั้งวิชาอื่น ๆ ที่ต้องใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้า โดยเฉพาะ
วิชางานเชื่อม ซ่อมบํารุง งานประดิษฐ์ และงานเชื่อมในแต่ละภาคการศึกษานั้น ๆ
5.3 ก้นลวดเชื่อม หมายถึง บริเวณด้านปลายสุดของลวดเชื่อมไฟฟ้าที่ไม่มีฟลักซ์หุ้ม
เพื่อใช้นํากระแสไฟฟ้าโดยนําหัวเชื่อมไฟฟ้ามาคีบจับ โดยระยะความยาวเฉลี่ยในการ
คีบจับประมาณ 22 มิลลิเมตร แต่ในการตรวจวัดผลของชุดตรวจสอบนั้นประมาณ
35-55 มิลลิเมตร
6. ประโยชน์ของผลการวิจัย
6.1 เพื่อลดความสูญเสียของลวดเชื่อมไฟฟ้าและช่วยประหยัดงบประมาณของ
วิทยาลัย
6.2 เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักใช้วัสดุให้คุ้มค่าในการฝึกปฏิบัติงานเชื่อมและโลหะแผ่น
เบื้องต้น งานเชื่อมซ่อมบํารุงและงานประดิษฐ์งานเชื่อมโลหะเนื่องจาก หลังการเชื่อม
เสร็จแล้วผู้เรียนต้องนําก้นลวดเชื่อมไฟฟ้ามา แลกเพื่อจะเบิกเส้นใหม่ได้
6.3 เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักรักษาความสะอาด พื้นที่ในการปฏิบัติงาน
โดยลดปริมาณการทิ้งเศษก้นลวด เชื่อมไฟฟ้าลงพื้น
รูป3.2เครื่องบดถั่วลิสง
45