Page 30 - E-Book-3Neat
P. 30
26
มิซูบิชิ F-60 ออมร่อน C-40
ชนิดของรีเลย์
จำนวน เบอร์ จำนวน เบอร์
รีเลย์พิเศษ 168 S600-S977 100 1808-1907
State 64 700-777
CMP/EJP 64 M70-M77
Initial relay M500-M567
เนื่องจากเราใช้ พี.ซี. ของผู้ผลิตสองบริษัทประกอบการสอนในวิชาโปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์
ระหว่าง มิตซูบิชิ F-60 กับ ออมร่อน C-40 จึงต้องเปรียบเทียบเบอร์ของรีเลย์ภายในไว้สำหรับเลือกใช้งาน
ให้เหมาะสม
2.2.3 การออกแบบวงจรการควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์
การเขียนโปรแกรมคำสั่งงาน
1. โปรแกรมคำสั่งงาน การเขียนโปรแกรมรหัสคำสั่งในโปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์ สามารถ
เขียนได้ 4 แบบ คือ
1.1 วงจรแลดเดอร์
เป็นแบบวงจรควบคุมที่นิยมใช้กันมากที่สุดแบบหนึ่ง เพราะสามารถเปลี่ยนจากวงจรรีเลย์เดิม
มาเป็นวงจรแลดเดอร์แล้วเขียนโปรแกรมรหัสคำสั่งงานป้อนข้อมูลเก็บไว้ใน พี.ซี.
1.2 ผังเวลาการทำงานเครื่องจักร
จากผังเวลาการทำงานของเครื่องจักร ผู้ใช้งานสามารถนำมาเขียนเป็นวงจรวงจรแลดเดอร์
แสดงระบบควบคุมแล้วป้อนข้อมูลเก็บไว้ใน พี.ซี. เช่นเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องรู้เงื่อนไขการทำงานของ
เครื่องจักร
1.3. ระบบสอนการทำงานเครื่องจักร
เป็นระบบที่สอนให้ พี.ซี. ควบคุมการทำงานแบบลำดับเป็นขั้นตอน นิยมใช้ในระบบควบคุม
ขนาดเล็ก
1.4. แผนผังแสดงลำดับการทำงานเครื่องจักร
เป็นภาษาที่เข้าใจง่ายเพราะเลือกใช้แผนภาพแสดงสถานะบรรยายลักษณะขั้นตอนการทำงาน
ของเครื่องจักรแบบเรียงลำดับ โดยเน้นเฉพาะเรื่องสถานะและเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงสถานะนั้น
ผู้ใช้สามารถเขียนแผนผังวงจรควบคุมได้ทันทีที่ทราบขั้นตอนของระบบงานที่เครื่องจักรทำ แล้วเขียนโปรแกรม
โดยใช้รหัสคำสั่งคล้ายกับวงจรแลดเดอร์