Page 1 - บทคัดย่อภาษาไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะบริหารจัดการชีวิตฯ
P. 1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะ
การบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เสนอตัวแบบยุทธศาสตร์
การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ
3) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดหนองแขม สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยใช้
วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ
ดำเนินการโดยวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ที่กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่
ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการเขตที่เป็นประธานกลุ่มเขต หรือผู้ช่วย
ผู้อำนวยการเขต 6 กลุ่มเขต จำนวน 6 คน รวม 7 คน และการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยผู้บริหาร
สถานศึกษา จำนวน 6 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน รวม 9 คน ที่ได้มาโดยการเลือก
แบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตีความ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ
ดำเนินการโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 414 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 207 คน
และหัวหน้าสายชั้นปฐมวัย จำนวน 207 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณสูตร
ของทาโร ยามาเน่ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกล่าวว่า (1) สภาพการพัฒนา
เด็กปฐมวัยโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์ ด้านคุณภาพเด็กปฐมวัย เน้นถึง
ความพร้อมในการเรียนรู้และการพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้เหมาะสมกับวัย (2)
นโยบายการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของกรุงเทพมหานคร ด้านการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ส่งผลต่อ
ยุทธศาสตร์ เน้นการกำหนดให้ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดเป้าหมาย และวิธีการดำเนินการใน
การปฏิบัติได้ ด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ต้องทำความเข้าใจกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์
การกำหนดตัวชี้วัด ให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีทิศทางบรรลุเป้าหมาย และ (3) การมีส่วนร่วม
ที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์ ด้านการจัดประสบการณ์ การส่งเสริมพฒนาการเด็ก จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ
ั
ของทุกภาคส่วน และด้านการนิเทศ เป็นกลไกที่ช่วยเหลือครูในการพัฒนาตนเอง วิธีการหรือแนวทาง
ดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนด การวิจัยเชิงปริมาณ ปัจจัยที่ส่งผลประกอบด้วย ตัวแปร
นโยบายการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของกรุงเทพมหานคร และการมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กัน
ในเชิงบวกกับยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทระดับ .05 และนำปัจจัยอิสระไปสร้างสมการ
ี่
พยากรณ์ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสังกัด
2
กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมได้ค่าสัมประสิทธิ์ของการพยากรณ์ปรับปรุง (R ) ได้ร้อยละ 28.30
2) เสนอตัวแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
ั
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกล่าวว่า ยุทธศาสตร์การพฒนา
ทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เหมาะสม ประกอบด้วย
ด้านการกำหนดยุทธศาสตร์ ด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และด้านบุคลากร ต้องครอบคลุมเนื้อหา