Page 2 - บทคัดย่อภาษาไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะบริหารจัดการชีวิตฯ
P. 2
ข
ในการพัฒนายุทธศาสตร์ การวิจัยเชิงปริมาณ ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของ
ั
เด็กปฐมวัยโรงเรียนสังกดกรุงเทพมหานคร พบว่า (1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด ( = 4.45, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณารายยุทธศาสตร์ทั้ง
5 ยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ที่ 4
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ที่ 3 และยุทธศาสตร์ที่ 5 ตามลำดับ และ (2) หัวหน้าสายชั้นปฐมวัย
โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด ( = 4.38, S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณาราย
ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ที่ 5 และยุทธศาสตร์ที่ 3 ตามลำดับ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอตัวแบบ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร:
กรณีศึกษาโรงเรียนวัดหนองแขม สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานครตามผลการวิเคราะห์
2
ข้อมูลโดยภาพรวม อธิบายความผันแปรของยุทธศาสตร์ ได้ร้อยละ 99.00 (R = 0.990) โดยสามารถ
กำหนดตัวแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้าน
การจัดประสบการณ์โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยเด็กให้มีทักษะการบริหารจัดการชีวิตเหมาะสมกับวัย
ยุทธศาสตร์ที่ 3: ยกระดับประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วม และ
เครือข่ายที่เข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนาสภาพแวดล้อม ทรัพยากรและนวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนา
ทักษะการบริหารจัดการชีวิต และยุทธศาสตร์ที่ 5: พัฒนาหลักสูตรบูรณาการทักษะการบริหารจัดการชีวิต
3) ผลการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดหนองแขม สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พบว่า ผู้มีประสบการณ์ปฐมวัยโดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.40)
เมื่อพิจารณารายยุทธศาสตร์ ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยุทธศาสตร์ที่ 3 และยุทธศาสตร์ที่ 1 ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลการพัฒนาทักษะ
การบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้มีประสบการณ์ปฐมวัย
โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.37) เมื่อพิจารณารายข้อ
ทั้ง 9 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ตามลำดับ
คำสำคัญ: ยุทธศาสตร์ ทักษะการบริหารจัดการชีวิต ปฐมวัย