Page 116 - ตำรา
P. 116
1. วัตถุประสงค์ของรายการ
การเขียนบทรายการควรกำหนดให้ชัดว่าเนื้อหาสาระตอนใดต้องสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ข้อใดตามวัตถุประสงค์ของรายการที่ได้กำหนดเอาไว้ โดยเน้นในสิ่งที่เป็นความรู้
เฉพาะที่ “ต้องรู้” มากกว่า “ควรรู้” ในสิ่งที่เป็นความรู้ทั่วไป
2. กลุ่มผู้ชมที่เป็นเป้าหมาย
การเขียนบทรายการต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เพื่อให้การเขียนเนื้อหา ระดับภาษา
ที่ใช้ให้เหมาะสม เข้าถึงกลุ่มผู้ชมเป้าหมายได้ดีมากขึ้น เช่น หากกลุ่มผู้ชมเป็นเด็ก เนื้อหาต้องง่าย
ดึงดูดความสนใจด้วยเพลง ซึ่งจะแตกต่างจากรายการของผู้ใหญ่
3. ขอบเขตของเนื้อหา
การเขียนเนื้อหาในบท ควรคิดไว้เสมอว่าไม่ควรยัดเยียดเนื้อหามากเกินไป อาจจะทิ้งจะ
หวะเงียบให้ผู้ชมได้คิด หรือใส่ดนตรีที่เหมาะสมคลอตามไปด้วย เพราะถ้าภาพสื่อความหมายได้ดี
แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยัดเยียดคำบรรยายเข้าไปเกินความจำเป็น
4. ความสัมพันธ์ระหว่างภาพและเสียง
ขึ้นชื่อว่ารายการโทรทัศน์ย่อมมีทั้งภาพและเสียงควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นเวลาเขียนบท
โทรทัศน์จึงต้องเขียนเนื้อหาบทให้สอดคล้องกบเสียงในรายการ
ั
5. เทคนิคที่เหมาะสม
การนำเอาเทคนิคมาใช้ในรายการเพื่อการศึกษา ควรนำมาใช้ให้เหมาะสมไม่หวือหวา
เกินไป เพราะหากเทคนิคมากเกินไปจะทำให้รบกวนการเรียนรู้ของผู้ชมได้ เช่น การใช้แสงที่
เปลี่ยนไปๆมาๆ หรือ การแบ่งจอภาพ หรือการพลิกภาพ เป็นต้น
สรุป
การเขียนบทโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกจากมความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาอย่างแจ่ม
ี
แจ้งแล้วยังต้องเข้าใจว่าบทโทรทัศน์นั้นจะใช้กับการผลิตรายการได้อย่างไร ต้องเข้าใจถึงข้อจํากัด
บางประการและความสามารถในการใช้งานขอฝงเครื่องมือในการผลิตรายการและต้องคุ้นเคยกับ
เทคนิคเบื้องต้นของการผลิตรายการด้วย ดังนั้น การจะเป็นผู้เขียนบทโทรทัศน์ได้นั้น คงไม่ใช่เรื่อง
ง่ายที่ใครนึกอยากเขียนก็เขียนได้เลยเหมือนเขียนบทความอะไรสักเรื่องเพราะจําเป็นต้องอาศัย
ความรู้พื้นฐานและทักษะเฉพาะที่จําป็นหลายอย่างสําหรับหลักการเขียนบทโทรทัศน์เพอการศึกษา
ื่
106