Page 125 - ตำรา
P. 125

ี่
                       3. การจัดแสงและเสียง พยายามใช้แสงธรรมชาติให้มากทสุด หลีกเลี่ยงการใช้แสงจากไฟโคมเพราะ
               ยุ่งยากและเสียเวลามาก หลีกเลี่ยงเงาด่างบนใบหน้า เช่น แสงที่ลอดจากใบไม้โดยให้ผู้แสดงเปลี่ยนตําแหน่ง

               กําจัดเงาดําบริเวณผนังด้านหลังโดยให้ผู้แสดงเลื่อนห่างออกมาระวังแสงที่ฉากตัดกันมาก ส่วนในเรื่องเสียงควร
               บันทึกไว้ทุกช็อตและตัดเสียงรบกวนที่ไม่เกี่ยวข้องทุกอย่างชั่วคราว เช่น ปิดแอร์ พัดลม ยกหูโทรศัพท์ออก
               ฯลฯ



                                     ื่
                       4. การถ่ายทํา เพอให้การถ่ายทํานอกสถานที่ประสบความสําเร็จ มีข้อควรระลึกถึงดังนี้
                       1. ถ่ายฉากที่สําคัญที่สุดเสียก่อน เพราะอาจมีอุปสรรคที่ไม่คาดคิด เช่น อากาศ แปรปรวน อุปกรณ์
               ถ่ายทําเกิดขัดข้อง

                       2. ถ่ายฉากภายนอกสถานที่ซึ่งแสดงถึงสถานที่ที่ไปถ่ายทํา (General View) เช่น ตัวอาคาร ป้ายชื่อ
               อาคารเอาไว้ทุกครั้งแม้จะคิดว่าไม่ต้องการใช้ก็ตามเพราะอาจจําเป็นต้องใช้ภายหลัง

                       3. ถ่ายแต่ละฉากให้เสร็จสิ้นครบทุกช็อต ก่อนจะย้ายไปถ่ายฉากอื่นต่อไป ไม่กลับไปกลับมาเพราะการ
               ตั้งกล้องใหม่ในที่เดิมจะทําให้เสียเวลาโดยไม่จําเป็น ควรทําบทถ่ายทําไว้ล่วงหน้าจะช่วยได้มาก

                       4. ถ่ายภาพไปให้พอเพียงและเหมาะสมสําหรับไว้เลือก เพื่อใช้ตัดต่อแต่อย่าถ่ายเผื่อมากไปเพราะจะ
               เสียเวลาดูภาพ โดยทั่วไปจะเผื่อไว้ประมาณ 1.3 เช่น รายการ 30 นาที จะใช้เทปโทรทัศน์ไม่เกิน 90นาที

                       5. การถ่ายสัมภาษณ์บุคคล ควรเริ่มต้นด้วยภาพที่แนะนําบุคคลนั้น โดยเป็นภาพที่เขากําลังอยู่ใน

               อิริยาบถอื่น เช่น รดน้ำต้นไม้ อ่านหนังสือ เลี้ยงสัตว์ โดยให้มีฉากหลังที่ต่างไปฉากที่ถ่ายสัมภาษณ์
                       6. หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพที่ไม่ต่อเนื่องหรือ "กระโดด" (Jump-Cuts) โดยถ่ายภาพอื่นที่เกยวข้องใน
                                                                                               ี่
               เหตุการณ์มาคั่นไว้

                       ภาพคั่น เป็นภาพถ่ายใกล้ของสิ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อย่นย่อเวลา หรือป้องกันภาพโดดได้แก่ ภาพ
               cut in และภาพ cut away

                       ภาพ cut in เป็นภาพถ่ายใกล้องค์ประกอบหลักในภาพ เช่น ถ่ายภาพคนเขียนจดหมายภาพต่อมาคือ
               ภาพถ่ายใกล้จดหมายที่เพิ่งเริ่มเขียน แล้วคั่นด้วยภาพใกล้ใบหน้าของคนเขียนแล้วกลับมาที่จดหมายเต็ม
               หน้ากระดาษ จบพอดี จะช่วยในการย่นเวลา

                       ภาพ Cut away เป็นภาพถ่ายใกล้วัตถุซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยในภาพ เช่น ภาพรถวิ่งจากซ้ายไปขวา
               ต่อมาเป็นภาพรถคันเดิมวิ่งจากขวาไปซ้าย ภาพจะโดด เพราะผิดทิศทาง หากคั่นด้วยภาพใกลของน้ําที่กระเซ็น

               จากล้อรถ ก็จะช่วยแก้ไขภาพโดด

                       7. อย่าถ่ายภาพข้ามเส้น (Crossing The Line) เพราะจะทําให้ผู้ชมสับสนเรื่องทิศทางของภาพใน
               รายการ

                       8. อย่าหวังจะได้ภาพบางภาพจากม้วนเทปที่คนอื่นเคยถ่ายไว้แล้ว ช่างกล้องบางคนอาจบอกว่าภาพนี้
               ไม่ต้องถ่ายก็ได้ เพราะเค้าเพิ่งถ่ายไปเมื่ออาทิตย์ก่อนเพราะการไปหาภาพจากแหล่งสะสมภาพอาจจะเสียเวลา
               แล้วไม่ได้ภาพ หรือได้ภาพที่ไม่ตรงกับความต้องการ

                                                                  ่
                       9. ใช้จอดูภาพ (Monitor) ทุกครั้งที่เป็นไปได้ขณะที่ถายทําควรดูที่จอภาพ เพราะไม่มีใครจะรู้ความ
               ต้องการของผู้กํากับรายการได้ดีเท่ากับตัวเอง




                                                           115
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130