Page 130 - ตำรา
P. 130
2.3 การบันทึกรายการ (Recording) เมื่อซ้อมรายการจนผู้ร่วมรายการและทีมงานคล่องแคล่วดี
แล้วก็จะเริ่มบันทึกรายการลงเทปบันทึกภาพ ระหว่างบันทึกรายการผู้กำกับรายการจะดูภาพที่ส่งมาจากแหล่ง
ี
ต่าง ๆ ทางจอดูภาพหลายจอ ฟังเสียงผู้ร่วมในรายการ และสั่งการไปยังผู้กำกับเวทีและทมงานผ่านไมโครโฟน
ละหูฟังด้วยความหวังว่ารายการจะดำเนินไปด้วยดี แต่อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ถ้าเป็นรายการที่จะนำไปตัด
้
ต่อลำดับภาพภายหลังได้ ก็ต้องจดบันทึกขอผิดพลาดนั้นไว้ แล้วปล่อยให้รายการดำเนินไปจนจบนำ
ื่
ข้อผิดพลาดนั้นมาอธิบายให้ทีมงานเข้าใจ และเริ่มบันทึกรายการลำดับที่ผิดใหม่เพอนำไปตัดต่อภายหลังแต่ถ้า
เป็นรายการที่ต้องทำสำเร็จในห้องผลิตรายการ เมื่อพบข้อผิดพลาดให้สั่งหยุดเทป ถอยเก็บไปยังจุดที่เหมาะสม
แล้วเริ่มบันทึกรายการต่อจากจุดนั้นจนจบ
ภาพที่ 9.7 ห้องควบคุมรายการ ที่มา : https://www.zsentech.co.th/th/gallery/mcot-hd-2/
ในการกำกับรายการเช่นนี้ ผู้กำกับรายการจะอยู่ในภาวะที่กดดัน เพราะตาต้องดูภาพจากหลายแหล่ง
หูต้องฟงเสียงต่าง ๆ ต้องติดตามบทโทรทัศน์ ปากต้องสั่งการ และสมองต้องคิดแก้ปัญหา ดังนั้น ผู้กำกับจึงต้อง
ั
มีสมาธิดี เยือกเย็น ไม่เคร่งเครียดหรือระบายอารมณ์ใส่ผู้ร่วมงานอน ๆ เพราะจะสร้างความตึงเครียดให้กับ
ื่
ทีมงานและส่งผลกระทบต่อการผลิตรายการได้ หลังจากการบันทึกรายการเสร็จสิ้นผู้กำกับรายการควรกล่าว
ื่
ื่
คำขอบคุณทีมงานทุกคนเพอมารยาทสังคมและเพอสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน
การประเมินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
การประเมินก่อนการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ึ
การประเมินก่อนการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศกษา เป็นการสำรวจความพร้อมในด้านต่าง ๆ
ตามที่ได้วางแผนและเตรียมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ผู้ผลิตรายการต้องประเมินว่ามีความพร้อม
เพียงพอที่จะลงมือผลิตรายการตามที่วางแผนเอาไว้หรือไม่ การประเมิน ก่อนการผลิตรายการจะประเมินความ
พร้อมในด้านบทรายการโทรทัศน์เพอการศึกษา บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ถ่ายทำงบประมาณ และ
ื่
แผนการปฏิบัติงาน
120