Page 56 - ตำรา
P. 56

คลื่นเสียง (Sound wave) เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดเกิดการสั่น พลังงานจากการสั่นจะถูกถ่ายโอน
               ให้กับโมเลกุลของตัวกลาง ทำให้โมเลกุลของตัวกลางสั่นในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง หรือส่งผล

               ต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศที่อยู่รอบๆ โดยโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมไปชนกับ
               โมเลกุลที่อยู่ถัดไปและถ่ายโอนพลังงาน จากนั้นจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฏิกิริยา ปรากฏการณ์
               นี้จะเกิดขึ้นสลับกันไปมาเมื่อตัวกลางเป็นอากาศซึ่งมีสมบัติของความยืดหยุ่น ดังนั้นคลื่นเสียง จึงจัดเป็นคลื่น
               ตามยาว แหล่งกำเนิดคลื่นเสียงเมื่อไม่มีการสั่นหรือโมเลกุลของอากาศอยู่ ในสภาวะปกติความดันเสียง

               (Sound pressure) จะมีค่าคงที่ค่าหนึ่งเมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านระยะห่างระหว่างโมเลกุลจะเปลี่ยนไป ณ
                                                           ่
                                                                                            ี
               เวลาขณะใดขณะหนึ่งระยะห่างระหว่างโมเลกุลจะมีคาต่างๆ กัน และเมื่อโมเลกุลของอากาศมการชน ความดัน
                                                                                                        ั
               อากาศจะมีค่าเพิ่มมากขึ้นจากปกติ ส่งผลให้ความดันเสียง ณ เวลานั้นเพิ่มมากขึ้น เรียกว่าช่วงการอด
               (Compression) และเมื่อโมเลกุลของอากาศแยกออกจากกัน ความดันอากาศจะลดลงจากปกติเรียกว่า ช่วง
               การขยาย (Rarefaction) เป็นจุดที่มีความดันเสียงต่ำสุด















                                  ภาพที่ 4.4 คลื่นเสียง ที่มา : https://pccchon.ac.th/pdf/p_tuy2.pdf



                       คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง คุณสมบัติของคลื่นวิทยุนี้สามารถกระจายไปได้เป็น
               ระยะทางไกล ด้วยความเร็วเท่ากับแสงคือ 300 ล้านเมตรต่อวินาที เครื่องส่งวิทยุจะทำหน้าที่สร้างคลื่น
               แม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงหรือคลื่นวิทยุ (RF) ผสมกับคลื่นเสียง (Audio Frequency -AF) แล้วส่งกระจาย
               ออกไป

                                                                                                    ี
                                                                               ี่
                       คลื่นวิทยุนี้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ สามารถสะท้อนได้ทบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟยร์(สูง
               55-600 กม.จากพื้นโลก)ในชั้นบรรยากาศนี้ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าอยู่เป็นจำนวนมากเมื่อ
               คลื่นวิทยุเคลื่อนที่หรือเดินทางมาถึงชั้นมาถึงชั้นบรรยากาศนี้จะทำการจะสะท้อนคลื่นวิทยุกลับสู้ผิวโลกอก
                                                                                                        ี
               ดังนั้นจึงทำให้ทำสามารถใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารเป็นระยะทางไกลๆได้ แต่ในกรณีที่เป็นคลื่นวิทยุที่มีความถ ี่
                                                              ี
               สูงขึ้นการสะท้อนกลับจากบรรยากาศในชั้นนี้ดังกล่าวจะมได้น้อยลง
                       เมื่อเราได้ทำความเข้าใจถึงลักษณะการแพร่กระจายและการทำงานของคลื่นวิทยุแล้วเราก็จะมาดูกัน
               ว่าคลื่นวิทยุนั้นแบ่งออกกันเป็นกี่แบบ
                       คลื่นวิทยุสามารถแบ่งตามคลื่นความถี่ได้ 4แบบดังนี้

                       1. LOW FREQUENCY (LF) คลื่นความถี่นี้จะอยู่ในช่วง 30 Khz  ถึง 300 Khz.
                       2. HIGH FREQUENCY (HF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  3 MHz ถึง 30 MHz  มีการนำมาใช้งานของใน
               โรงพยาบาล การกู้ชีพและกู้ภัย เพราะความถี่นี้ไม่เป็นอุปสรรคหรือรบกวนอุปกรณ์ที่โรงพยาบาลใช้งานอยู่

                       3. ULTRA HIGH FREQUENCY (UHF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  300 MHz ถึง 1 GHz.  ประเทศไทย
               ความถี่ที่อนุญาตให้ใช้คือ  920-925Mhz




                                                           46
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61