Page 106 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 106

91




                                                5) สร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง เน้นส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนทุก

                     ภาคส่วนเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจกำหนดนโยบายและมาตรการของภาครัฐ โดยเริ่มจากการ

                     เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนําเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ
                     สวัสดิการในระดับชุมชน เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในบริบทสังคมไทย

                                  7.3 ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการช่วยพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจฐานราก
                     โดยการสร้าง “คุณค่าร่วม” ระหว่างภาคธุรกิจ สังคม และผู้บริโภคที่ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่การ

                                                                                                     ื่
                     ผลิต พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน เพอ
                     ผลิตสินค้าและบริการที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นหรือช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและ
                     พัฒนาชุมชน อาทิ การจ้างงานผู้พิการ หรือผู้ผ่านการต้องขัง เพื่อช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตและ

                     ความสุขของคนในชุมชน

                                8. นโยบายหลักที่ 8 การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทย
                     ทุกช่วงวัย มีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

                                  8.1 ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
                                    1) จัดให้มีระบบพัฒนาเด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่องจนถึง เด็กวัยเรียนให้มีโอกาส

                                                                                                   ั
                     พัฒนาตามศักยภาพ ยกระดับคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศให้ได้มาตรฐานและพฒนา
                     ศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่าง มีคุณภาพ
                                    2) ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยคำนึงถึงพหุปัญญา ที่หลากหลายของเด็ก

                     แต่ละคนให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ผ่านการออกแบบ การจัดการเรียนรู้
                     ที่เชื่อมโยงกับระบบโรงเรียนปกติที่เป็นระบบและมีทิศทางที่ชัดเจน

                                  8.2 พัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่

                                    1) ปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ และอาชีพของคน
                     ทุกช่วงวัยสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษา ให้ทันสมัย มีการนําเทคโนโลยี

                     และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียน 21 การสอน และปรับระบบดึงดูด

                     การคัดเลือก การผลิตและพัฒนาครูที่นําไปสู่การมีครูสมรรถนะสูง เป็นครูยุคใหม่ที่สามารถออกแบบ
                     และจัดระบบการสร้างความรู้สร้างวินัย กระตุ้น และสร้าง แรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์มุมมองของ

                     เด็กและครูด้วยการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น ควบคู่กับหลักการทางวิชาการ

                                    2) จัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
                     ทั้งในส่วนฐานความรู้และระบบความคิดในลักษณะสหวิทยาการ และตรงกับความต้องการของ

                     ประเทศในอนาคต และเป็นผู้เรียนที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสามารถกำกับการเรียนรู้ของตนเองได้
                     รวมถึงมีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาที่สามที่สามารถสื่อสาร และแสวงหาความรู้ได้มีความ

                     พร้อมทั้งทักษะความรู้ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน






                      ---------------------------------------------------------------------------------
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111