Page 107 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 107

92




                                                                          ั
                                    3) วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพฒนาประเทศ โดยสร้างเครือข่ายการ
                     ทำวิจัยระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ปฏิรูป และบูรณาการระบบการเรียนการสอนกับระบบงานวิจัยและ

                     พัฒนา ให้เอื้อต่อการเพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็ง
                     ของธุรกิจไทยทุกระดับในเวที การค้าโลก ส่งเสริมกระบวนการการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน

                     ในการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมให้เป็นระบบเปิด และมีการบูรณาการการ
                     ทำงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเชื่อมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ

                     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างนักวิจัยมืออาชีพและนวัตกรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับ

                     งานวิจัยสู่การเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ
                                  8.3 ส่งเสริมการเรียนรู้และพฒนาทักษะทุกช่วงวัย
                                                           ั
                                    1) มุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนควบคู่กับการพัฒนาครู เพิ่มประสิทธิภาพระบบ

                     บริหารจัดการศึกษาในทุกระดับบนพื้นฐานการสนับสนุนที่คำนึงถึงความจําเป็นและศักยภาพของ
                     สถาบัน การศึกษาแต่ละแห่ง พร้อมทั้งจัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของโรงเรียนในทุกระดับ และสร้าง

                     ระบบวัดผลโรงเรียนและครูที่สะท้อนความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน คืนครูให้นักเรียน
                     โดยลดภาระงานที่ไม่จําเป็น รวมถึงจัดให้มีระบบฐานข้อมูล เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการ

                     เชื่อมโยงหรือส่งต่อข้อมูลครอบครัวและผู้เรียนระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงการพัฒนา

                     ตลอดช่วงชีวิต ตลอดจนพัฒนาช่องทางให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้
                     ตลอดชีวิต

                                    2) พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิทัล พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการนํา
                     เทคโนโลยีสารสนเทศและการสร้างสรรค์ที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดที่

                     หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจและเหมาะสมกับช่วงวัย ตลอดจน

                     พัฒนาแหล่งเรียนรู้และอุทยานการเรียนรู้สำหรับเยาวชนที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีกับวิถีชีวิต และ
                     ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย

                                    3) ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยบูรณาการการดําเนินงานระหว่างหน่วย

                     จัดการศึกษากับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มุ่งเน้นกลุ่มเด็กด้อยโอกาสและกลุ่ม
                     เด็กนอกระบบการศึกษา ปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียน

                     และลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา จัดระบบโรงเรียนพี่เลี้ยงจับคู่ระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มี

                     คุณภาพการศึกษาดีกับโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และการส่งเสริมให้
                     ภาคเอกชน ชุมชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบการศึกษาในพื้นที่ สนับสนุนเด็กที่มี

                                                      ิ
                                     ี
                     ความสามารถแต่ไม่มทุนทรัพย์เป็นกรณีพเศษ ตลอดจนแก้ไขปัญหาหนี้สินทางการศึกษา โดยการปรับ
                     โครงสร้างหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และทบทวนรูปแบบการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่
                     เหมาะสม






                      ---------------------------------------------------------------------------------
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112