Page 31 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 31
16
การพัฒนาคลัสเตอร์ของเกษตรอุตสาหกรรม และบริการ พร้อมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาเมือง
สร้างสรรค์ เพื่อให้เมืองเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดึงดูดการลงทุนใหม่ โดยการส่งเสริม
ให้เมืองเป็นเจ้าภาพจัดเทศกาลความคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมระดับสากล โดยให้ความสำคัญ
กับการใช้มหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาค และสถาบัน การศึกษาท้องถิ่นขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้าน
นวัตกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในแต่ละภาค
2.1.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสมัยใหม่ การสร้างระเบียงทางด่วน
ดิจิทัล และเสริมสร้างความรู้และโอกาสในการเข้าถึงโครงข่ายบรอดแบนด์หลากรูปแบบตามความ
เหมาะสมของพื้นที่ โดยมีรูปแบบการเชื่อมโยงด้านดิจิทัลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับสากล
ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการวางกรอบในการจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่ให้เพียงพอรองรับ
บริการที่มีคุณภาพในราคาที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ มีการสนับสนุนธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม ที่ทำให้
เกิดการสร้างงานบริการในโลกดิจิทัลใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานบริการและบริหารของ
ภาครัฐและเอกชน และสร้างความมั่นคงในการเชื่อมโยงเครือข่ายดิจิทัลเชื่อมต่อกับโลก และการ
สนับสนุนและเร่งรัดการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ การออกแบบที่คำนึงถึง
ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง มาใช้ในภาคการผลิตและบริการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในรูปแบบที่
ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลหลากหลายแหล่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเพม
ิ่
ศักยภาพคนในสังคมด้วยการเข้าถึงความรู้ เครื่องมือบนพื้นฐานของธรรมาภิบาลข้อมูล ซึ่งครอบคลุม
ความปลอดภัยไซเบอร์ ความมีจริยธรรมและการไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รวมทั้งการสร้างผลงานที่
ช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศอย่างเต็มท ี่
(3) การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญในการสร้างความสามารถ
ในการแข่งขัน โดยการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมการพัฒนาการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ผ่านสถาบันการศึกษาในระดับพื้นที่สำหรับการพัฒนา
ถ่ายทอด และต่อยอดองค์ความรู้ ควบคู่กับการส่งเสริมทักษะทางภาษา เพื่อสร้างโอกาสและ
ความสามารถในการแข่งขัน เช่น การดำเนินโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน ของสำนักงานส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ
อาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ ภายใต้ประเด็น
ยุทธศาสตร์ “พัฒนากำลังคน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขนของประเทศ” ซึ่งจะส่งผลต่อการ
ั
บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ 2.2 ประเทศไทยมี
ขีดความสามารถ ในการแข่งขันสูงขึ้น
3. ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (หลัก)
(1) เป้าหมาย
1.1) คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21
---------------------------------------------------------------------------------