Page 26 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 26

11




                                2.3.2 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

                     (พ.ศ. 2559-2573)

                                2.3.3 กรอบการพัฒนาภาค (พ.ศ. 2566 – 2570)
                                2.3.4 เป้าหมายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                2.3.5 นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)
                                2.3.6 นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช

                     เทียนทอง)

                                2.3.7   แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566–2570) ของกระทรวงศึกษาธิการ
                                2.3.8   แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566–2570



                     2.1 แผนระดับ 1

                         ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)

                             แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566-2570
                     (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566)  มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ดังนี้

                             1. ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง (รอง)
                               (1)  เป้าหมาย

                                 1.1) ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุข
                                 1.2) บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ

                               (2) ประเด็นยุทธศาสตร์

                                 2.1) การรักษาความสงบภายในประเทศ เพื่อสร้างเสริมความสงบเรียบร้อย
                     และสันติสุขให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติบ้านเมืองให้สถาบันหลักมีความมั่นคง เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจ

                     อย่างยั่งยืน ประชาชนอยู่ดีมีสุข มีความมั่นคงปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน สังคมมีความเข้มแข็ง

                     สามัคคีปรองดอง และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันพร้อมที่จะร่วมแก้ไขปัญหาของชาติ
                                     2.1.1) การพัฒนาและเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ

                     เพื่อให้คนในชาติมีจิตสำนึกรักและหวงแหน มุ่งจงรักภักดี พร้อมธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา

                     พระมหากษัตริย์ให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและศูนย์รวมจิตใจหนึ่งเดียวกันของคนทั้งชาติ โดยปลูกฝัง
                     และสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รณรงค์เสริมสร้างความรัก

                     และภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยและชาติไทย ผ่านทางกลไกต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาประวัติศาสตร์
                     ในเชิงสร้างสรรค์ น้อมนำและเผยแพร่ศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึง

                     แนวทางพระราชดำริต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้อย่างกว้างขวาง

                     จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและพระราชกรณียกิจอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนส่งเสริมให้ยึดถือหลัก





                      ---------------------------------------------------------------------------------
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31