Page 23 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 23

8




                     แผนพัฒนาพื้นที่อย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นกลไกการดำเนินงานด้านการศึกษาในพื้นที่อย่างมี
                     ประสิทธิผล


                     1.4 วิธีดำเนินงาน


                           1.4.1 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์บริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
                     (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580)   (ร่าง) นโยบายและ

                     แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570)  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                     แห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)  นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) แถลงต่อ

                     รัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development
                     Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 4 เป้าหมายด้านการศึกษา  แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579

                     กรอบการพัฒนาภาคภาค (พ.ศ. 2566 – 2570)  เป้าหมายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                     แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)  ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ
                     บริบทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                           1.4.2 ศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลบริบทระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับ

                     กลุ่มจังหวัดที่ส่งผลต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                     ตอนกลางในอนาคต ประกอบด้วย ร่างกรอบแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. 2566 - 2570)

                     เป้าหมายการพัฒนาตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พ.ศ. 2566 – 2570

                     (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2565) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                                                                                                   ั
                     ตอนกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  อาทิ การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการพฒนา
                     ด้านเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี โรคติดต่อ โรคอุบัติใหม่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                     ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และ

                     บริบทอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความต้องการและความคาดหวังจากหน่วยงานในสังกัด

                     กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นผลการวิเคราะห์
                     สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาในระดับกลุ่มจังหวัดภาค

                     ตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 12  สำนักงานปลัดกระทรวง
                     ศึกษาธิการต่อไป

                           1.4.3 จัดทำข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษาที่เชื่อมโยง

                     การพัฒนาในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์)
                     ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบัน แนวโน้มการศึกษาในอนาคต การวิเคราะห์บริบท

                     การศึกษา ความเชื่อมโยงการศึกษากับแผน 3 ระดับ การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การศึกษากับเป้าหมาย

                     การพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และแนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาเชื่อมโยงสู่การ





                     ---------------------------------------------------------------------------------
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28