Page 78 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 78

63




                           2.2.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570

                               แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) มีวัตถุประสงค์

                     เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่า อย่างยั่งยืน” หมายถึง การสร้าง
                     การเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับโครงสร้าง นโยบาย และกลไก เพื่อมุ่งเสริมสร้างสังคมที่

                     ก้าวทันพลวัตของโลก และเกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ
                     พร้อมกับการยกระดับกิจกรรมการผลิตและการให้บริการให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยอยู่

                     บนพื้นฐานของความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนา จำนวน 5 ประการ

                     ประกอบด้วย 1) การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐาน 2) การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
                     3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม 4) การเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน

                     5) การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้

                     บริบทโลกใหม่ ดังนั้น เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจนในลักษณะ
                     ของวาระการพัฒนาที่เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนในการ

                                                                                                   ั
                     ผลักดันการพัฒนาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้กำหนดหมุดหมายการพฒนา
                     จำนวน 13 หมุดหมาย ซึ่งเป็นการบ่งบอกถงสิ่งที่ประเทศไทยปรารถนาจะ“เป็น” หรือมุ่งหวังจะ“มี”
                                                        ึ
                     เพื่อสะท้อนประเด็นการพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูงต่อการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคม

                     ก้าวหน้า เศรษฐกิจ สร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”
                                ภารกิจสำนักงานศึกษาธิการภาค 12  สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีส่วน

                     เกี่ยวข้องกับหมุดหมายการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายหลัก ประกอบด้วย 5 หมุดหมาย ดังนี้
                                หมุดหมายที่ 6 ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอเล็กทรอนิกส์อจฉริยะและอุตสาหกรรม
                                                                                   ั
                                                                       ิ
                     ดิจิทัลของอาเซียน กลยุทธ์ที่ 1 การขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทยด้วยดิจิทัล กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2

                     ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศไทยให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
                                                                                                      ิ่
                     ดิจิทัล รวมถึงการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพม
                     ผลผลิตและความสามารถในการทำกำไรให้แก่ผู้ประกอบการเพมขึ้น และกลยุทธ์ย่อยที่ 1.4 ส่งเสริม
                                                                         ิ่
                     การใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำรงชีพ เป้าหมาย : เศรษฐกิจดิจิทัล
                     ภายในประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

                                หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน

                     เป้าหมาย : 1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษขยายตัว
                     เพิ่มขึ้น 2) การพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน มีความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อการ

                     เปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิติที่ดีอย่างทั่วถึง กลยุทธ์ที่ 1 การสร้าง
                     ความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน โดยสร้างเสริม

                     องค์ความรู้ให้กับชุมชนจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมกลไกความร่วมมอภาครัฐ
                                                                                                ื





                      ---------------------------------------------------------------------------------
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83