Page 86 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 86

71




                     และไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความนิยมในความหลากหลายทางวัฒนธรรม

                     และการมีส่วนร่วมของวัฒนธรรมต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี 2573

                                                                                                 ่
                                                                    ุ
                                  เป้าหมายย่อยที่ 4.A สร้างและยกระดับอปกรณ์และเครื่องมือทางการศึกษาที่ออนไหว
                     ต่อเด็กผู้พิการ และเพศภาวะ และให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง
                     ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน
                                  เป้าหมายย่อยที่ 4.C เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิ รวมถึงการดำเนินการผ่านทาง

                     ความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ

                     พัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ภายในปี 2573 (ที่มา : รายงานความก้าวหน้า
                                             ั
                     เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563, สศช., สิงหาคม 2564)

                                  ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนให้บรรลุ

                     เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายหลัก (Goal) ที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มี
                     คุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทุกราย

                     เป้าหมายย่อย (Target) ที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักการ
                     ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน



                           2.3.3 กรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570
                                กรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566 – 2570 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเชิง

                     พื้นที่และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดความ
                     เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม บนพื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน คำนึงถึงการเสริมสร้างความเขมแข็ง
                                                                                                  ้
                     ของเศรษฐกิจชุมชนให้สามารถปรับตัวและฟื้นตัวได้เร็ว เพื่อเป็นฐานการรองรับสถานการณ์วิกฤติต่าง

                     ๆ ได้อย่างมั่นคง และใช้เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาเชิงให้แก่จังหวัด กลุ่มจังหวัดและส่วนราชการ
                     ซึ่งประกอบด้วย


                                1) กรอบแผนพัฒนาภาคเหนือ (พ.ศ. 2566 – 2570)
                                   ทิศทางการพัฒนาภาค มุ่งสู่การพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ

                     เชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคและเติบโตอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สานสัมพันธ์

                     ระหว่างพื้นที่ สุขภาวะดี วิถีชีวิตยั่งยืน”
                                  แนวทางการพัฒนา

                                      1) พัฒนาสู่การเป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ Creative LANNA ในพื้นที่

                     จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง

                                      2) พัฒนาการผลิตตามระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมแปรรูป
                     มูลค่าสูง





                      ---------------------------------------------------------------------------------
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91